แพร่

“หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ. ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม”

จังหวัดแพร่เป็นอาณาจักรเก่าแก่มาช้านานกว่าพันปี เมืองแพร่สร้างขึ้นในสมัยใดไม่มีหลักฐานจารึกที่แน่นอน ประวัติศาสตร์ของเมืองแพร่จึงต้องใช้หลักฐานอ้างอิงจากจารึกเมืองอื่น เช่น เช่น พงศาวดารโยนก ตำนานเมืองเหนือ ตำนาน การสร้างพระธาตุลำปางหลวง และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นต้นนำข้อมูลจากหลายๆตำนานมาเชื่อมโยงกัน เนื่องจากไม่มีหลักฐาน ที่เกี่ยวข้อง

          ตำนานพระธาตุช่อแฮ จารึกไว้ว่า เมืองแพร่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล ในตำนานวัดหลวงจารึกไว้ว่าเมื่อประมาณ พ.ศ.1371 พ่อขุนหลวงพล ราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้า ได้อพยพชาวไทลื้อและชาวไทเขินจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำ ลงมาสร้างเมืองบนที่ราบริมแม่น้ำยม ตั้งชื่อว่า เมืองพลนคร

          ตำนานสิงหนวัติ กล่าวไว้ว่าแพร่เป็นเมืองที่ปกครองโดยพญายี่บาแห่งแคว้นหริภุญไชย สันนิษฐานว่าแพร่และลำพูนเป็นเมืองที่สร้างขึ้นมาในระยะเวลาใกล้เคียงกัน

          หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1826  หลักที่ 1 จารึกไว้ว่า “เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพล เมืองน่าน เมืองพลัวพ้นฝั่งของ เมืองชวา เป็นที่แล้ว” เมืองแพล ที่กล่าวถึงในศิลาจารึกนั้นคือ เมืองแพร่ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความเก่าแก่ของเมืองแพร่ ว่าตั้งขึ้นมาก่อนเมืองเชียงใหม่และกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีความสอดคล้องกับตำนานสิงหนวัติ และชื่อเดิมของเมืองแพร่ปรากฏในหลักฐานที่เกี่ยวข้องหลายชื่อได้แก่ เมืองพล นครพลหรือพลรัฐนคร ซึ่งเป็นชื่อเก่าแก่ดั้งเดิมที่สุดที่ค้นพบ 

             ในตำนานเมืองเหนือ ฉบับใบลาน พ.ศ. 1824 กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคน มาติดต่อเจ้านครพล ให้ไปร่วมงานนมัสการ และฉลองวัดพระธาตุลำปางหลวง และจากตำนานพระธาตุลำปางหลวงตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเจ้าเมืองพล เกณฑ์ชาวเมืองไปขุดหาพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุไว้ในพระธาตุ แต่ไม่พบ เมื่อศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของนครพลตามตำนานดังกล่าว พบว่าใกล้เคียงกับที่ตั้งเมืองแพร่ในปัจจุบัน

          เวียงโกศัย เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ปรากฏในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน ชื่อนี้ใช้เรียกเมืองแพร่ในสมัยขอมเรืองอำนาจ พระนางจามเทวีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตล้านนา จึงเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นภาษาบาลีตามความนิยมในยุคนั้น เช่น น่านเป็นนันทบุรี ลำพูนเป็นเป็นหริภุญไชย ลำปางเป็นเขลางค์ เป็นต้น

          เวียงโกศัย น่าจะมาจากชื่อดอย ซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุช่อแฮ่ อันเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ คือ “ดอยโกสิยธชัคบรรพต” อันหมายถึงดอยแห่งผ้าแพรอันงดงาม เมืองแพล น่าจะมาจากศรัทธาของชาวเมืองที่มีต่อพระธาตุช่อแพร หรือช่อแฮที่สร้างขึ้น ภายหลังการสร้างเมืองต่อมาจึงได้เรียกชื่อ เมืองของตนว่าเมืองแพล และได้กลายมาเป็นเมืองแพร่ปัจจุบัน

          พ.ศ.1773 เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง พ่อขุนบางกลางหาวประกาศตนเป็นอิสระ สถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานี รวมทั้งเมืองในเขตล้านนาอื่นๆ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน ต่างเป็นอิสระไม่ยอมขึ้นแก่ใคร และได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง

          พ.ศ.1922 ในแผ่นดินสมัยพระเจ้าไสยลือไท สมเด็จพระบรมราชาธิราช กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพขึ้นมาตีกรุงสุโขทัยและได้ชัยชนะ กรุงสุโขทัยจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา เมืองแพร่จึงตั้งตนเป็นอิสระจนถึง พ.ศ.2003

          พ.ศ. 2088 เมืองเชียงใหม่เกิดจลาจล ทางกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระไชยราชาได้ยกกองทัพขึ้นมาตี พระนางจิระประภา ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้นำเอาเครื่องราชบรรณาการไปถวาย พระไชยราชาจึงยกกองทัพกลับ เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาไปด้วย 

           พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่ายกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ จนได้ชัยชนะ เชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพม่า เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าด้วย

          พ.ศ. 2111 อาณาจักรล้านนาไทยถูกพม่าเกณฑ์ให้ยกกองทัพไปช่วยรบกรุงศรีอยุธยา เมืองแพร่ก็ยกกองทัพร่วมไปกับพม่าครั้งนี้ด้วย 

          พ.ศ. 2112 กรุงศรีอยุธยาก็แตก ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า อาณาจักรล้านนาไทยจึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่า เมืองแพร่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยจะขึ้นกับเมืองที่มีกองทัพเข้มแข็ง หากขณะนั้นกองทัพเมืองเชียงใหม่เข้มแข็ง เมืองแพร่ก็จะขึ้นกับเมืองเชียงใหม่ แต่หากขณะนั้นกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้มแข็ง เมืองแพร่จะขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา เวลาใดที่ทั้งสองฝ่ายอ่อนแอหรือเกิดจลาจล เมืองแพร่จะตั้งตนเป็นอิสระ

          พ.ศ. 2314 เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปตีเชียงใหม่ มังไชยะ เจ้าเมืองแพร่มาสวามิภักดิ์จึงโปรดตั้งให้เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ แล้วเกณฑ์ไปตีเมืองเชียงใหม่ด้วย ต่อมาเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ได้แต่งกองทัพหลวง 300 คน ให้มาตรวจราชการทางเมืองแพร่ เมืองน่าน ตลอดไปจนถึงเมืองนครลำปาง 

          พ.ศ. 2445 เกิดกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ในขณะที่พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงปกครองเมืองแพร่ มีพวกเงี้ยวคบคิดกันก่อการจลาจลขึ้นในเมืองแพร่ 

          พ.ศ. 2458 ทางการได้ประกาศให้รวมหัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นเป็นมณฑลโดยจัดให้เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองลำปาง รวมเป็นมณฑลมหาราษฎร์และให้ตั้งทีว่าการมณฑลขึ้นที่จังหวัดลำปาง ต่อมาใน พ.ศ. 2476 มีประกาศยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลโดยใช้ พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ แบ่งเป็นภาคๆ เมืองแพร่จัดอยู่ในภาคที่ 5 ที่ทำการภาคตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปางขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย

          พ.ศ.2500 ทางราชการได้ประกาศยกเลิกการปกครองแบบภาค ประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดแพร่จังหวัดแพร่เป็นอาณาจักรเก่าแก่มาช้านานกว่าพันปี เมืองแพร่สร้างขึ้นในสมัยใดไม่มีหลักฐานจารึกที่แน่นอน ประวัติศาสตร์ของเมืองแพร่จึงต้องใช้หลักฐานอ้างอิงจากจารึกเมืองอื่น เช่น เช่น พงศาวดารโยนก ตำนานเมืองเหนือ ตำนาน การสร้างพระธาตุลำปางหลวง และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นต้น นำข้อมูลจากหลายๆตำนานมาเชื่อมโยงกัน เนื่องจากไม่มีหลักฐาน ที่เกี่ยวข้อง

          ตำนานพระธาตุช่อแฮ จารึกไว้ว่า เมืองแพร่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล ในตำนานวัดหลวงจารึกไว้ว่าเมื่อประมาณ พ.ศ.1371 พ่อขุนหลวงพล ราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้า ได้อพยพชาวไทลื้อและชาวไทเขินจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำ ลงมาสร้างเมืองบนที่ราบริมแม่น้ำยม ตั้งชื่อว่า เมืองพลนคร

          ตำนานสิงหนวัติ กล่าวไว้ว่าแพร่เป็นเมืองที่ปกครองโดยพญายี่บาแห่งแคว้นหริภุญไชย สันนิษฐานว่าแพร่และลำพูนเป็นเมืองที่สร้างขึ้นมาในระยะเวลาใกล้เคียงกัน

          หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1826  หลักที่ 1 จารึกไว้ว่า “เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพล เมืองน่าน เมืองพลัวพ้นฝั่งของ เมืองชวา เป็นที่แล้ว” เมืองแพล ที่กล่าวถึงในศิลาจารึกนั้นคือ เมืองแพร่ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความเก่าแก่ของเมืองแพร่ ว่าตั้งขึ้นมาก่อนเมืองเชียงใหม่และกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีความสอดคล้องกับตำนานสิงหนวัติ และชื่อเดิมของเมืองแพร่ปรากฏในหลักฐานที่เกี่ยวข้องหลายชื่อได้แก่ เมืองพล นครพลหรือพลรัฐนคร ซึ่งเป็นชื่อเก่าแก่ดั้งเดิมที่สุดที่ค้นพบ 

             ในตำนานเมืองเหนือ ฉบับใบลาน พ.ศ. 1824 กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคน มาติดต่อเจ้านครพล ให้ไปร่วมงานนมัสการ และฉลองวัดพระธาตุลำปางหลวง และจากตำนานพระธาตุลำปางหลวงตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเจ้าเมืองพล เกณฑ์ชาวเมืองไปขุดหาพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุไว้ในพระธาตุ แต่ไม่พบ เมื่อศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของนครพลตามตำนานดังกล่าว พบว่าใกล้เคียงกับที่ตั้งเมืองแพร่ในปัจจุบัน

          เวียงโกศัย เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ปรากฏในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน ชื่อนี้ใช้เรียกเมืองแพร่ในสมัยขอมเรืองอำนาจ พระนางจามเทวีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตล้านนา จึงเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นภาษาบาลีตามความนิยมในยุคนั้น เช่น น่านเป็นนันทบุรี ลำพูนเป็นเป็นหริภุญไชย ลำปางเป็นเขลางค์ เป็นต้น

          เวียงโกศัย น่าจะมาจากชื่อดอย ซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุช่อแฮ่ อันเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ คือ “ดอยโกสิยธชัคบรรพต” อันหมายถึงดอยแห่งผ้าแพรอันงดงาม เมืองแพล น่าจะมาจากศรัทธาของชาวเมืองที่มีต่อพระธาตุช่อแพร หรือช่อแฮที่สร้างขึ้น ภายหลังการสร้างเมืองต่อมาจึงได้เรียกชื่อ เมืองของตนว่าเมืองแพล และได้กลายมาเป็นเมืองแพร่ปัจจุบัน

          พ.ศ.1773 เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง พ่อขุนบางกลางหาวประกาศตนเป็นอิสระ สถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานี รวมทั้งเมืองในเขตล้านนาอื่นๆ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน ต่างเป็นอิสระไม่ยอมขึ้นแก่ใคร และได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง

          พ.ศ.1922 ในแผ่นดินสมัยพระเจ้าไสยลือไท สมเด็จพระบรมราชาธิราช กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพขึ้นมาตีกรุงสุโขทัยและได้ชัยชนะ กรุงสุโขทัยจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา เมืองแพร่จึงตั้งตนเป็นอิสระจนถึง พ.ศ.2003

          พ.ศ. 2088 เมืองเชียงใหม่เกิดจลาจล ทางกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระไชยราชาได้ยกกองทัพขึ้นมาตี พระนางจิระประภา ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้นำเอาเครื่องราชบรรณาการไปถวาย พระไชยราชาจึงยกกองทัพกลับ เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาไปด้วย 

           พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่ายกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ จนได้ชัยชนะ เชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพม่า เมืองแพร่จึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าด้วย

          พ.ศ. 2111 อาณาจักรล้านนาไทยถูกพม่าเกณฑ์ให้ยกกองทัพไปช่วยรบกรุงศรีอยุธยา เมืองแพร่ก็ยกกองทัพร่วมไปกับพม่าครั้งนี้ด้วย 

          พ.ศ. 2112 กรุงศรีอยุธยาก็แตก ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า อาณาจักรล้านนาไทยจึงตกอยู่ใต้อำนาจของพม่า เมืองแพร่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยจะขึ้นกับเมืองที่มีกองทัพเข้มแข็ง หากขณะนั้นกองทัพเมืองเชียงใหม่เข้มแข็ง เมืองแพร่ก็จะขึ้นกับเมืองเชียงใหม่ แต่หากขณะนั้นกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้มแข็ง เมืองแพร่จะขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา เวลาใดที่ทั้งสองฝ่ายอ่อนแอหรือเกิดจลาจล เมืองแพร่จะตั้งตนเป็นอิสระ

          พ.ศ. 2314 เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปตีเชียงใหม่ มังไชยะ เจ้าเมืองแพร่มาสวามิภักดิ์จึงโปรดตั้งให้เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ แล้วเกณฑ์ไปตีเมืองเชียงใหม่ด้วย ต่อมาเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ได้แต่งกองทัพหลวง 300 คน ให้มาตรวจราชการทางเมืองแพร่ เมืองน่าน ตลอดไปจนถึงเมืองนครลำปาง 

          พ.ศ. 2445 เกิดกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ในขณะที่พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงปกครองเมืองแพร่ มีพวกเงี้ยวคบคิดกันก่อการจลาจลขึ้นในเมืองแพร่ 

          พ.ศ. 2458 ทางการได้ประกาศให้รวมหัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นเป็นมณฑลโดยจัดให้เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองลำปาง รวมเป็นมณฑลมหาราษฎร์และให้ตั้งทีว่าการมณฑลขึ้นที่จังหวัดลำปาง ต่อมาใน พ.ศ. 2476 มีประกาศยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลโดยใช้ พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ แบ่งเป็นภาคๆ เมืองแพร่จัดอยู่ในภาคที่ 5 ที่ทำการภาคตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปางขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย

          พ.ศ.2500 ทางราชการได้ประกาศยกเลิกการปกครองแบบภาค ประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดแพร่

 

สถานที่ท่องเที่ยว

“ภูพญาพ่อ” จุดสูงสุดบนเส้นทางสายเชิงทอง-กิ่วเคียน สูง

1,350เมตร จากระดับน้ำทะเล และยังเป็นยอดเขาสูงสุดที่แบ่งเขตแดนระหว่างแพร่กับอุตรดิตถ์ บริเวณนี้เป็นจุดชมทิวทัศน์ ที่มองเห็นเขาและผืนป่ากว้างไกลไปจนสุดสายตาที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ สองข้างที่ยังเป็นธรรมชาติ เป็นป่าเขาตลอดเส้นทาง

การเดินทางไปต้องใช้รถส่วนตัวเท่านั้น มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ หรือปั่นจักรยานขึ้นไป ระยะทางจากตัวเมืองอุตรดิตถ์มาถึงจุดชมวิวประมาณ90กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ1-2ชั่วโมง และจุดนี้ยังมีเส้นทางติดต่อไปทางจังหวัดแพร่ ถึงพระธาตุช่อแฮ เดินทางไปอีก40กิโลเมตร ตอนนี้กำลังขยายเส้นทางให้กว้างขึ้น เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในอนาคตและเป็นเส้นทางเลือกไปยังจังหวัดแพร่ให้สะดวกมากขึ้น เป็นหนึ่งสถานที่เชิงธรรมชาติที่อยากแนะนำให้คนที่ไม่เคยไปได้รู้จัก

วัดนาคูหาตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป้นวัดที่ตั้งอยู่บนบ้านนาคูหามีสถานที่ตั้งสวยงาม มีพระพุทธรูป พระเจ้าทันใจตั้งเด่นอยู่กลางนา ภายในวัดมีสถานที่ทางธรรมชาติที่สวยงาม มีสะพานไม้ขัวแคร่เชื่อมต่อผ่านทุ่งนาไปยังถ้ำผาสิงห์ เป้นวัดในหมู่บ้านที่อยู่ยอดดอยสูง ห่างจากตัวเมือง แพร่ประมาณ 25 กิโลเมตร ใช้ถนนหมายเลข 1024 การเดินทางเข้าออกหมู่บ้านถนนผ่านเพียงแค่เส้นเดียว หมู่บ้าน นาคูหาตั้งอยู่ท่ามกลางขุนเขาและธรรมชาติอันแสนบริสุทธิ์ ถือแหล่งโอโซนชั้นดี ติดอันดับ 1 ใน 7 ของประเทศไทย

วัดนาคูหา วัดเล็กๆท่ามกลางหุบเขาที่เงียบสงบงียบสงบงดงาม ช่วงวันหยุดต่างๆมีประชาชนและนักท่องเที่ยว มาเยี่ยมชม และกราบพระ อยู่เป็นระยะ ภายในวิหารมีพระประธาน พุทธศิลป์แบบพื้นถิ่นที่ดูเรียบง่ายแต่ยังคง งดงามเอกลักษณ์แบบล้านนา เพื่อกราบสักการะขอพร “พระเจ้าต๋นหลวง” ที่วัดนาคูหา วัดที่เป็นที่เคารพของคนในชุมชน พระเจ้าต๋นหลวงถือได้ว่าเป็นองค์เดียวในเมืองไทยที่ถือลูกสมอและต้องขอพรด้วยลูกสมอเท่านั้น ซึ่งลูกสมอนี้ก็มีขึ้นทั่วไปในหมู่บ้าน โดยการขอพรจะเป็นการขอพรในเรื่องของสุขภาพให้แข็งแรงและปราศจากโรคภัย วัดนาคูหาเป็นวัดเก่าแก่ ประจำบ้านคูหา ด้านหลังของพระเจ้าต๋นหลวงจะเป็นทุ่งข้าวโพดสีเหลืองทอง ถัดไปจะเป็นทุ่งนาสีเขียวขจี บรรยากาศในยามเย็นที่อาทิตย์อัศดงต้องกับพระเจ้าต๋นหลวงสีทองอร่าม

อนุสาวรีย์สองมหาวีรบุรุษเมืองแพร่ ปู่พญาพลและพระยาเมืองไชย (พระยาศรีสุริยวงศ์) ปู่พญาพล เป็นผู้นำในการสร้างเมืองพล เมื่อปี พ.ศ. 1371 หรือ 1189 พระยาเมืองไชย (พระยาศรีสุริยวงศ์) เป็นเจ้าหลวงผู้ครองนครเมืองแพร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2309 -2358

สืบเนื่องจากในปี 2542 เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ควรที่พสกนิกรชาวแพร่จะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี โดยจัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติขึ้น ให้มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์สองมหาวีรบุรุษ ผู้าทำคุณประโยชน์กับจังหวัดแพร่ ซึ่งจากความเห็นของคณะกรรมการาดำเนินงานหล่ายฝ่าย ได้ศึกษา ค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์ผู้สร้างเมืองแพร่ จากหลักฐานต่าง ๆ และได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากร ดังน้ัน จึงมีมติเห็นชอบให้จัดสร้างอนุสาวรีย์ปู่พญาพล และพระยาเมืองไชย (พระยาศรีสุริยวงศ์) บริเวณสี่แยกโจ้โก้แม่หล่าย ตำบลแม่หล่าย อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ในสมัยของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ (นายอนุกูล คุณาวงศ์)

Shops in Phrae
shop_img

ร้าน บ้านแพร่ง

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: ร้านอาหารบ้านแพร่ง
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


Leave a Reply

Related Post

อุบลราชธานีอุบลราชธานี

อุบลราชธานี เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ สัญลักษณ์ประจำจังหวัด รูปดอกบัวตูม และดอกบัวบาน ชูช่อก้านใบเหนือหนองน้ำ เป็นสัญลักษณ์ ระลึกถึงชาวเมืองหนองบัวลำภู ในเขตจังหวัด อุดรธานี..และเป็นจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน ภายใต้การนำของพระวอ และบุตรหลานพระตา ที่อพยพหนีภัยสงครามกับ เมือง เวียงจันทน์ ลงมาตั้งรกรากในเขตจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อประมาณ พ.ศ.2312 ต่อมาชุมชนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย”เมื่อวันจันทร์..เดือน 8 แรม 1 ค่ำ ปีชวด พ.ศ.2335 ในรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชองค์ปฐมบรมราชจักรีวงศ์ สถานที่ท่องเที่ยว สวนสัตว์อุบลราชธานี

บุรีรัมย์บุรีรัมย์

บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทราวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์มาก คือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผา,ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร สถานที่ท่องเที่ยว อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ

ฉะเชิงเทราฉะเชิงเทรา

จังหวัด ฉะเชิงเทราหรือที่นิยมเรียกกันว่า “แปดริ้ว” เคยเป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมมาก่อนในสมัยอิทธิพลของ อาณาจักรลพบุรี (ขอม) เมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เป็นไปได้ว่าชาวเมืองสมัยโบราณอาจจะเรียกชื่อแม่น้ำบางปะกงว่า คลองลึกหรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็นแต่ด้วยอิทธิพลเขมรจึงได้เรียกชื่อแม่น้ำ เป็นภาษาเขมรว่า “สตึงเตรง หรือ ฉทรึงเทรา” ซึ่งแปลว่า คลองลึก นั่นเอง ครั้นเรียกกันไปนาน ๆ เสียงเลยเพี้ยนกลายเป็น “ฉะเชิงเทรา” แต่ก็มีความเห็นอื่นที่แตกต่างออกไปว่าชื่อ “ฉะเชิงเทรา” น่าจะเพี้ยนมาจาก “แสงเชรา” หรือ “แซงเซา” หรือ “แสงเซา” อันเป็นชื่อเมืองที่สมเด็จพระบรมราชาธิราช