กาญจนบุรี

กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม่า

ความเป็นมาของกาญจนบุรีเท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก[3] สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม[3] สมัยบายน

กาญจนบุรียังปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำสงครามระหว่างกองทัพไทยกับพม่า จนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ เดิมตัวเมืองกาญจนบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า (บริเวณเขาชนไก่ในปัจจุบัน) ภายหลังจนถึง พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นการถาวร ณ เมืองกาญจนบุรีใหม่โดยตั้งอยู่ ณ ตำบลปากแพรก อันเป็นสถานที่บรรจบของแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย โดยตัวเมืองอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำแควใหญ่ ซึ่งมีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์และด้านการค้า โดยเริ่มก่อสร้างเมืองเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2374 และสำเร็จในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 และได้แยกออกจากสุพรรณบุรีนับแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ กว้าง 5 เส้น ยาว 10 เส้น 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรงเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม” การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้ ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็นพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯ ว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็นชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน[3]

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล กาญจนบุรีถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลราชบุรี[4] และยกฐานะเป็นจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2467

เหตุการณ์ที่ทำให้กาญจนบุรีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นได้ตัดสินใจสร้างทางรถไฟยุทธศาสตร์ จากชุมทางหนองปลาดุกในประเทศไทยไปยังเมืองทันบูซายัตในพม่า โดยเกณฑ์เชลยศึกและแรงงานจำนวนมากมาเร่งสร้างทางรถไฟอย่างหามรุ่งหามค่ำ จนทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทั้งจากความเป็นอยู่ที่ยากแค้นและโรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้า ซึ่งภาพและเรื่องราวของความโหดร้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในกาญจนบุรี

ชื่อเรียกอื่น ๆ ของกาญจนบุรี เช่น เมืองกาญจน์ ปากแพรก ศรีชัยยะสิงหปุระ[5] (ซึ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เรียกเมืองกาญจนบุรีว่า ศรีชัยยะสิงหปุระ) และเมืองขุนแผน เป็นต้น

สถานที่ท่องเที่ยว

ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติเอราวัณ เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมาก มีขนาดใหญ่และสวยงามมาก ต้นน้ำเกิดจากลำห้วยม่องไล่ ไหลผ่านลงมาจากยอดเขาและผาสูง แบ่งเป็น 7 ชั้น แต่ละชั้นมีลักษณะเป็นแอ่งสามารถเล่นน้ำได้

น้ำตกเอราวัณ เป็นอีกน้ำตกหนึ่งที่ขึ้นชื่อของ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นน้ำตกที่สวยงามบนฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ มีระยะทางยาวประมาณ 1,500 เมตรติดต่อกัน เดิมมีชื่อว่า “น้ำตกสะด่องม่องลาย” ตามชื่อลำห้วยม่องลายซึ่งเป็นต้นน้ำของน้ำตก แต่ด้วยลักษณะน้ำตกชั้นที่ 7 ของที่นี่มีลักษณะคล้ายหัวช้างเอราวัณ 3 เศียร จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ น้ำตกเอราวัณ ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเป็นอย่างดี น้ำตกเอราวัณ นี้มีด้วยกันทั้งหมด 7 ชั้น แต่ละชั้นจะมีชื่อที่คล้องจองกัน เริ่มจาก… ชั้นที่ 1 ไหลคืนรัง เป็นน้ำตกชั้นเล็ก ๆ ที่เหมาะกับการนั่งเล่นรับลมพักผ่อน ชั้นที่ 2 วังมัจฉา เหมาะกับการลงเล่นน้ำ เพราะมีแอ่งให้ลงไปแวกว่ายได้ และมีฝูง “ปลาพลวง” อาศัยอยู่ในน้ำด้วย ชั้นที่ 3 ผาน้ำตก ชั้นนี้น้ำตกจะตกลงมาในระดับสูง นักท่องเที่ยวสามารถไปยืนบริเวณน้ำตกเพื่อเล่นน้ำได้ ชั้นที่ 4 อกผีเสื้อ ชั้นนี้มีจุดเด่นในการเล่นสไลด์เดอร์ไหลลื่นตกลงมายังแอ่งน้ำด้านล่าง เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบความตื่นเต้น ชั้นที่ 5 เบื่อไม่ลง เป็นชั้นที่กินพื้นที่กว้างสามารถเล่นน้ำได้ ชั้นที่ 6 ดงพฤกษา ชั้นนี้ถูกล้อมรอบด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ชั้นที่ 7 ภูผาเอราวัณ เป็นชั้นสุดท้ายซึ่งเป็นชั้นที่สวยงามมาก น้ำใสสะท้อนแสงเป็นสีฟ้าอมเขียวมรกตคล้ายสระว่ายน้ำ ในแต่ละชั้นของน้ำตกจะมี ปลาพลวง (ปลาน้ำจืดในตระกูลปลาตะเพียน ลำตัวสีน้ำตาลเขียวเกล็ดโต มีหนวดยาว 2 คู่ ชอบอาศัยบริเวณธารน้ำตก ลำห้วย หรือลำธารที่ใสสะอาด) แหวกว่ายอยู่ แต่ในชั้นที่มีมากก็เห็นจะเป็นชั้นที่ 2 คือ วังมัจฉา โดยแต่ละชั้นของ น้ำตกเอราวัณ จะมีลักษณะเป็นอ่างสามารถเล่นน้ำได้ และยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติเอราวัณ มีระยะทางประมาณ 1,060 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เดินผ่านป่าดิบเขา จุดชมวิวและป่าผลัดใบที่สวยงาม ท่านจะได้รับความรู้และความเพลิดเพลินในการชื่นชมธรรมชาติที่สวยงามเป็นอย่างยิ่ง

น้ำพุร้อนหินดาด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียนิยมแวะมาแช่น้ำที่นี่กันเป็นจำนวนมาก ถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ไม่ควรพลาด เพราะบ่อน้ำร้อนทางธรรมชาติ มีแร่ธาตุ และช่วยบำบัดรักษาโรคต่างๆ ได้

น้ำพุร้อนหินดาด หรือน้ำพุร้อนกุยมั่งถูกค้นพบโดยทหารญี่ปุ่นที่คุมเชลยศึกมาสร้างรถไฟสายมรณะ ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นน้ำพุร้อนตามธรรมชาติ ที่มีตาน้ำอยู่ใต้ดิน มีน้ำไหลตลอดปี สร้างเป็นบ่อซีเมนต์ไว้เป็นบ่อแช่ มีด้วยกัน 3 บ่อ ที่มีความร้อนต่างระดับกันไป คือบ่อน้ำร้อนมาก ร้อนปานกลาง มีบ่อเล็กสำหรับเด็กที่น้ำไม่ร้อนมาก และยังมีบ่อสำหรับพระสงฆ์แยกอยู่ต่างหาก อุณหภูมิน้ำร้อนที่ผิวดินอยู่ในช่วง 40-100 องศาเซลเซียส อุณหภูมิน้ำบ่อแช่ประมาณ 45-55 องศาเซลเซียส เชื่อกันว่าการอาบน้ำแร่ แช่น้ำพุร้อน มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีสรรพคุณในการรักษา และบรรเทาอาการของโรคต่างๆ ได้ เช่น – บรรเทาอาการปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ เหน็บชา ไขข้อ – ช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้สะดวก ขยายหลอดเลือดทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายดีขึ้น – ช่วยในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและกลูโคสระหว่างเส้นเลือดฝอยและเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย – ช่วยขยายรูขุมขน ช่วยให้ขับสิ่งอุดตันใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวพรรณดูสดใส – ช่วยผ่อนคลายทั้งร่างกาย และจิตใจ ทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย เป็นการลดความเครียดได้อย่างหนึ่ง บ่อน้ำพุร้อนนี้อยู่ในความดูแลของ อบต. หินดาด ในเรื่องการรักษาความสะอาด และความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ซึ่งแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวมาแช่พุร้อนเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่มีการรักษาความสะอาดล้างบ่อ และดูแลเปลี่ยนน้ำ ถ่ายน้ำใหม่ทุกวันจันทร์ และวันศุกร์ ในช่วงบ่าย 3 โมง

วัดใต้น้ำ หรือวัดจมน้ำ คือวัดวังก์วิเวการามเดิม ซึ่งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็น Unseen Thailand เพราะมีความแปลกที่มีซากโบราณสถานจมอยู่ใต้น้ำ เป็นสถานที่เล่าขานถึงตำนานความเป็นมาของวัดหลวงพ่ออุตตมะ จนหลายคนเรียกกันว่าเมืองบาดาล

วัดวังก์วิเวการามเดิมนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2498 เป็นวัดที่เกิดจากพลังความเลื่อมใสศรัทธาต่อหลวงพ่ออุตตมะ จุดที่ตั้งของวัดนี้ อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ คือบริเวณเนินที่มีแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำบิคลี่ ซองกาเลีย และรันตี มารวมกันเป็นแม่น้ำแควน้อย – แม่น้ำบิคลี่ เกิดจากลำห้วย ทางทิศตะวันออกของลำน้ำแควน้อย เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาที่สำคัญ แม่น้ำมีความยาวประมาณ 70 กิโลเมตร บริเวณริมน้ำเป็นที่ตั้งของบ้านเรือนชาวมอญ – แม่น้ำซองกาเลีย เป็นแม่น้ำจากทางตอนเหนือ คำว่าซองกาเลีย ภาษามอญหมายถึง “ฝั่งโน้น” เกิดจากแม่น้ำซองกาเลียในพม่าและห้วยโรคี่จากป่าทุ่งใหญ่นเรศวร แม่น้ำมีความยาวประมาณ 50 กิโลเมตร ท้องน้ำลาดชัน มีเกาะแก่งหลายแห่ง สองฝั่งลำน้ำเป็นผืนป่าอุดมสมบูรณ์ – แม่น้ำรันตี เป็นภาษากะเหรี่ยง หมายถึง “ยอดน้ำ” ต้นน้ำเกิดจากป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ความยาวแม่น้ำประมาณ 60 กิโลเมตร ท้องน้ำลาดชันไม่มาก สถาพป่าสองฝั่งแม่น้ำยังอุดมสมบูรณ์ มีหน้าผาหินปูนกว้างใหญ่หลายแห่ง บริเวณริมน้ำมีบ้านเรือนชาวลาว-พม่า ในปี พ.ศ. 2527 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีโครงการสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อเขื่อนเขาแหลม เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเมื่อเก็บกักน้ำหลังเขื่อนแล้ว ระดับน้ำเพิ่มขึ้นจนท่วมตัวอำเภอเก่า ในพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ หมู่บ้านชาวมอญอีกกว่า 1,000 หลังคาเรือน รวมถึงวัดวังก์วิเวการามเดิม ทางการจึงได้อพยพชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ออกจากบริเวณที่น้ำท่วม และย้ายวัดมาอยู่บนเนินเขาด้านฝั่งตะวันตกของลำน้ำแควน้อยในปัจจุบัน บริเวณวัดเดิม ถูกปล่อยให้จมอยู่ใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันในนามของ “วัดใต้น้ำ” หรือ เมืองบาดาล ซึ่งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในแบบ Unseen Thailand ปัจจุบันบริเวณสามประสบนี้ กลายเป็นแอ่งน้ำใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำในฤดูฝน จึงทำให้ไม่สามารถเห็นเป็นจุดบรรจบของสามสายน้ำได้ชัดเจนอีกแล้วนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวบริเวณวัดใต้น้ำ จะต้องนั่งเรือที่เช่าเหมาลำ เพื่อมาจุดที่เคยเป็นวัดวังก์วิเวการามเก่านี้เท่านั้น

Shops in Kanchanaburi
shop_img

ร้าน ผลไม้สดรถแห่

ประเภทร้านค้า: ตลาด
สาขา: ผลไม้สดรถแห่
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


Leave a Reply

Related Post

กระบี่กระบี่

กระบี่ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น หาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการัง ถ้ำ และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 100 เกาะ และเป็นที่ตั้งของเรือนรับรองที่ประทับแหลมหางนาค จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานได้ว่า บริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ดินแดนนี้เดิมคือ บันไทยสมอ มีสภาพเป็นชุมชนเล็ก ๆ ขึ้นอยู่กับอาณาจักรนครศรีธรรมราช เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เจ้าพระยานคร (น้อย) ได้มอบหมายให้ปลัดเมืองไปตั้งเพนียดคล้องช้างที่กระบี่ ทำให้ผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันมากขึ้นจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ ต่อมายกฐานะเป็น แขวงเมืองกาสัย หรือ ปกาสัย ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช ประมาณปี พ.ศ. 2415 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองปกาสัย และพระราชทานนามว่า เมืองกระบี่ เมื่อได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นเมืองแล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำการอยู่ที่ตำบลกระบี่ใหญ่

จันทบุรีจันทบุรี

จันทบุรี เป็นเมืองเก่าแก่ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการสำรวจโบราณคดีหลายแห่งในจันทบุรี พบเครื่องมือเครื่องใช้ยุคหินขัด อายุประมาณ 2,000 ปี ในเขตอำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่และที่ราบเชิงเขาที่บ้านคลองบอน อำเภอโป่งน้ำร้อน เริ่มมีการตั้งเมืองครั้งแรก หน้าเขาสระบาป ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ?ชาวชอง? หรือชนเผ่าในตระกูลมอญ-เขมร? เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในป่าฝั่งตะวันออก บริเวณจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อจันทบุรี-ตราด ซึ่งเป็นแหล่งของป่าและสมุนไพรที่อุดมสมบูรณ์ ในสมัยก่อนชาวชองดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าออกมาขาย แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าลดน้อยลงเพราะถูกหักร้างเพื่อทำสวน ทำไร่ ถูกจับจองโดยคนไทยและคนจีน ตลอดจนการเก็บของป่ากลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย พรานป่าอย่างชาวชองจึงต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นแรงงานในเมือง บางส่วนกลายเป็นชาวนาชาวไร่

ภูเก็ตภูเก็ต

ภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า “ภูเขา” ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า “บูเก๊ะ” หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ