ลำปาง

จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดที่มีอายุเก่าแก่ไม่น้อยกว่า1,300ปี มีชื่อเรียกขานกันหลายชื่อ ซึ่งปรากฏหลักฐานตามตำนานต่าง ๆ รวม11ชื่อ ได้แก่ กุกกุฏนคร ลัมภกับปะนคร ศรีนครชัย นครเวียงคอกวัว เวียงดิน เขลางค์นคร นครลำปางคำเขลางค์ อาลัมภางค์ เมืองลคร และเมืองนครลำปาง จากการที่เรียกขานกันว่า“กุกกุฏนคร”แปลว่าเมืองไก่ ดังนั้น ตราประจำจังหวัดลำปาง คือ“ไก่ขาว”จังหวัดลำปาง สร้างเมื่อ พ.ศ.1223จากหนังสือพงศาวดารโยนกกล่าวว่า“สุพรหมฤาษี”สร้างเมืองเพื่อให้ เจ้าอนันตยศ โอรสพระนางจามเทวี ครองคู่กับเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ให้ชื่อเมืองว่า“นครเขลางค์”ต่อมาเปลี่ยนเป็น“นครอัมภางค์”และเปลี่ยนชื่อเป็น“นครลำปาง”ในภายหลังในสมัยโยนกเชียงแสน นครลำปางเคยตกอยู่ภายใต้อำนาจของขอม เคยเป็นเมืองประเทศราชของพม่าและเมืองเชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี“เจ้าทิพย์ช้าง”สามารถขับไล่พวกพม่าออกจากเมืองลำปางได้สำเร็จ จึงได้รับการสถาปนาเป็น“พระยาสุวลือไชยสงคราม”ขึ้นครองนครลำปางในปี พ.ศ.2279ในปี พ.ศ.2307 “เจ้าแก้วฟ้า”พระโอรสของเจ้าทิพย์ช้างได้ขึ้นครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง ณ ลำพูน รวมทั้ง ณ เชียงใหม่ ในเวลาต่อมา และมี“เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต”เป็นผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

จังหวัดลำปางได้ประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัด ในปี พ.ศ.2435 (สมัยรัชกาลที่5)โดยขึ้นอยู่กับมณฑลพายับสมัยหนึ่ง (พ.ศ.2443)ต่อมาแยกเป็นมณฑลมหาราษฎร์ ในปี พ.ศ.2458ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีประกาศยกเลิกมณฑลทั่วราชอาณาจักร ลำปางจึงมีฐานะเป็น“จังหวัดลำปาง”ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476

สถานที่ท่องเที่ยว

ตั้งอยู่ภายในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง มีลักษณะเป็นสันเขาสูง ความสูงจากระดับน้ำทะเล720เมตร มีระยะทางเดิน2,220เมตร ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่มีความสวยงามเป็นอย่างมาก ในมุมสูงจะทำให้มองเห็นหมู่บ้านในตำบลแม่วะทั้งหมด และช่วงต้นหนาวจะมีทะเลหมอกให้ได้สัมผัสในยามเช้า อีกทั้งยังดื่มด่ำกับความสวยงามของพระอาทิตย์ถึงสองเวลา นั่นคือยามเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นและตก

ในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๕ นครลำปางว่างจากผู้ครองนครและเกิดความวุ่นวายขึ้นสมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่าท้าวมหายศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้น หนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ น่าน

วัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่20ตอนปลายเป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทยงดงามด้วสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมายได้แก่ พระธาตุลำปางหลวง, วิหารหลวง,วิหารพระพุทธ, ซุ้มพระบาท, กุฏิพระแก้ว, วิหารพระเจ้าศิลา และพิพิธภัณฑ์

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม อำเภอวังเหนือ และอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิด และมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตก แอ่งน้ำอุ่น บ่อน้ำพุร้อน ซึ่งสามารถเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงว่าใต้พื้นโลกเรายังมีความร้อนระอุอยู่ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ประมาณ480,000ไร่ หรือ768ตารางกิโลเมตร
Shops in Lampang
shop_img

ร้าน ครัวแม่สาว

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: ครัวแม่สาว
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน คอฟฟี่ ดิน

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: หนองกระทิง
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


Leave a Reply

Related Post

น่านน่าน

“แข่งเรือลือเลื่องเมืองงาช้างดำจิตรกรรมวัดภูมินทร์แดนดินส้มสีทเรืองรองพระธาตุแช่แห้ง” จากหลักฐานทางโบราณคดี การขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีภูซางและแหล่งโบราณคดีในเขตลำน้ำซาว พบหลักฐานเครื่องมือหินซึ่งกำหนดอายุได้ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องมาในช่วงสมัยประวัติศาสตร์ โดยพบการใช้เครื่องมือหินอยู่ในชั้นหลักฐานเดียวกันกับเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาเผาโบราณบ่อสวก เมื่อราว ๗๐๐ – ๘๐๐ ปีมาแล้ว ทำให้เชื่อได้ว่า จังหวัดน่านน่าจะเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ ซึ่งทำให้มีการอยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงประวัติศาสตร์ตอนต้นของเมืองน่าน ปรากฏเป็นหลักฐานจากพื้นเมืองหรือพงศาวดาร ซึ่งได้เล่าเป็นตำนานหรือนิทานเกี่ยวกับกษัตริย์น่าน คือ ขุนนุ่น ขุนฟอง กล่าวคือ บริเวณ ลุ่มลำน้ำย่าง มีเมืองย่าง ซึ่งปกครองโดย พระญาพูคา พระญาพูคาได้พบไข่สองใบ และต่อมาได้กำเนิดเป็นพี่น้องสองคน คือ ขุนนุ่น

นครปฐมนครปฐม

“นครปฐม” เป็นอู่อารยธรรมสำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสำคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้นนครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้นเมื่อได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี

ระยองระยอง

ระยอง เริ่มปรากฎชื่อในพงศาวดารเมื่อปี พ.ศ.2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีประวัติดั้งเดิมตามข้อสันนิษฐานว่า น่าจะก่อตั้งเมืองขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1500 ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่พบ คือ ซากศิลาแลงคูค่าย ที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม โดยในสมัยโบราณ ระยองมีชนพื้นเมืองคือชาวซอง ซึ่งเป็นเผ่าที่อาศัยอยู่กระจายโดยทั่วไปในภาคตะวันออก ในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเมืองระยองในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ในเดือนยี่ปี พ.ศ.2309 พระยาวชิรปราการ หรือ พระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ 500 คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า