น่าน

“แข่งเรือลือเลื่องเมืองงาช้างดำจิตรกรรมวัดภูมินทร์แดนดินส้มสีทเรืองรองพระธาตุแช่แห้ง”

จากหลักฐานทางโบราณคดี การขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีภูซางและแหล่งโบราณคดีในเขตลำน้ำซาว พบหลักฐานเครื่องมือหินซึ่งกำหนดอายุได้ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องมาในช่วงสมัยประวัติศาสตร์ โดยพบการใช้เครื่องมือหินอยู่ในชั้นหลักฐานเดียวกันกับเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาเผาโบราณบ่อสวก เมื่อราว ๗๐๐ – ๘๐๐ ปีมาแล้ว ทำให้เชื่อได้ว่า จังหวัดน่านน่าจะเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ ซึ่งทำให้มีการอยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่อง

ในช่วงประวัติศาสตร์ตอนต้นของเมืองน่าน ปรากฏเป็นหลักฐานจากพื้นเมืองหรือพงศาวดาร ซึ่งได้เล่าเป็นตำนานหรือนิทานเกี่ยวกับกษัตริย์น่าน คือ ขุนนุ่น ขุนฟอง กล่าวคือ บริเวณ ลุ่มลำน้ำย่าง มีเมืองย่าง ซึ่งปกครองโดย พระญาพูคา พระญาพูคาได้พบไข่สองใบ และต่อมาได้กำเนิดเป็นพี่น้องสองคน คือ ขุนนุ่น และขุนฟอง ขุนนุ่นได้ไปปกครองเมืองจันทบุรีหรือหลวงพระบาง ส่วนขุนฟอง ได้ก่อร่างสร้างเมืองพลัว หรือเมืองปัว หรือวรนคร ขึ้น

จากการศึกษาร่องรอยเมืองโบราณบริเวณลุ่มลำน้ำย่าง พบว่ามีคูน้ำคันดิน อันแสดงถึงชุมชนหรือเมืองโบราณอยู่บริเวณ รอยต่อระหว่าง บ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา และบ้านหนอง ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว มีคูน้ำคันดิน อย่างน้อยสองลักษณะ คือ คูน้ำคันดินสามชั้น และคูน้ำคันดินชั้นเดียว นอกจากตำนานแล้ว ในเอกสารในช่วงรัชกาลที่ ๕ ยังได้กล่าวถึง เมืองย่าง และเมืองยม ว่าเป็นเมืองในลุ่มน้ำย่างอีกด้วย

บริเวณเมืองปัวในปัจจุบัน ยังพบร่องรอยของคูน้ำคันดิน อันเป็นหลักฐานแสดงถึงความเป็นชุมชนหรือเมืองโบราณ โดยพบว่ามีการขยายของเมืองปัวหลายครั้ง เมืองปัวถือว่าเป็นเมืองใหญ่ และสำคัญของน่านตลอดมา แม้แต่ในปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางของชุมชนทางเหนือของน่าน

ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ในพื้นเมืองน่านฉบับวัดพระเกิด กล่าวว่า จุลศักราชที่ ๗๑๘ (พ.ศ. ๑๘๙๙) พระญาครานเมือง กษัตริย์เมืองปัว ได้รับเชิญจาก พระยาโสปัตตคันธิราช ผู้ครองเมืองสุโขทัย ลงไปช่วยสร้างวัดพระหลวงอภัย และพระยาสุโขทัยได้มอบธาตุ พระเจ้า ๗ องค์ พร้อมพระพิมพ์เงินพระพิมพ์ทอง ให้แก่พระยาครานเมือง 

         พระยาครานเมือง ด้วยคำแนะนำของมหาเถร จึงได้นำพระธาตุพร้อมพระพิมพ์เงินพระพิมพ์ทองประดิษฐานไว้ยังพูเพียง และเป็นเหตุให้มีการย้ายศูนย์กลางการปกครองลงมายังพูเพียงแช่แห้งในเวลาต่อมา หากแต่สันนิษฐานว่าเมืองปัวก็ยังคงมีเจ้าผู้ครองนครเช่นเดิม หากแต่ลดความสำคัญลง บริเวณพูเพียงต่อมาได้ชื่อว่า เวียงแช่แห้ง มีเรื่องเล่าถึงที่มาว่า เกิดจากการนำไม้ที่จะในการก่อสร้างซึ่งมีจำนวนมาก มาแช่ในน้ำ และน้ำเกิดแห้ง จึงได้เรียกเมืองแห่งนี้ว่า “แช่แห้ง”

เมื่อพระยาครานเมืองได้พิราลัยลง พระญาผากองเจ้าผู้ครองเมืองปัวได้ลงมาปกครองเวียงแช่แห้งแทน และในเวลาต่อมา พระญาผากองได้ย้าย ศูนย์กลางการปกครองอีกครั้ง โดยย้ายไปยังทางทิศตะวันตกของแม่น้ำน่าน ซึ่งในขณะนั้น เป็นที่ตั้งของบ้านห้วยไคร้ อันเป็นที่ตั้งของเมืองน่านในปัจจุบัน เมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ในพงศาวดารเมืองน่านฉบับวัดพระเกิด ระบุช่วงเวลา คือ จุลศักราชที่ ๗๘๐ (พ.ศ.๑๙๖๑)

ด้วยเมืองน่านเป็นที่ตั้งของแหล่งเกลือบกหรือเกลือภูเขา ซึ่งเป็นทรัพยากรอันสำคัญในช่วงเวลานั้น เมืองน่านจึงเป็นที่หมายตาของเจ้าต่างเมืองใกล้เคียง เช่น เมืองแพร่ เมืองพะยาว และในพงศาวดารฉบับวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารได้กล่าวว่า พระญาติโลกราชเมืองเชียงใหม่ได้ยกไพร่พลมารบเพื่อต้องการส่วยจากเมืองน่าน เจ้าผู้ครองเมืองน่าน ขณะนั้น คือ พระญาอินทะแก่น ได้พ่ายแพ้และหนีไปพึ่งพิงพระญาเชลียงผู้เป็นพระสหาย ในปีจุลศักราช ๘๑๒ (พ.ศ. ๑๙๙๓) และให้พระญาผาแสงผู้เป็นน้องขึ้นครองเป็นเจ้าผู้ครองนครน่านแทน

และเมื่อล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า เมืองน่านในฐานะเมืองขึ้นของเวียงพิงค์เชียงใหม่ก็ตกอยู่ในสถานะเช่นเดียวกัน ผู้ครองนครน่านสับเปลี่ยนหมุนเวียนมาจากเมืองต่างๆภายใต้การปกครองของเชียงใหม่และพม่า

จุลศักราชได้ ๑๐๘๘ (พ.ศ. ๒๒๖๙) พระญาหลวงตืนมหาวงศ์ เมืองเชียงใหม่ได้รับพระราชานุญาต จากกษัตริย์อังวะให้มาครองเมืองน่าน ซึ่งเจ้าผู้ครองนครน่านนับจากนั้นจนถึงองค์สุดท้าย ล้วนมีเชื้อสายสืบมาจากเจ้าผู้ครองนครองค์นี้ เจ้าผู้ครองนครน่านและเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่จึงถือได้ว่ามีเชื้อสายเดียวกัน

ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีล้านนาและกรุงศรีอยุธยา เมืองส่วนใหญ่ในล้านนาต่อต้านการปกครองของพม่า เกิดสงครามไปทุกหัวระแหง จนเมื่อ พระบาทสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่หนึ่งได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ จุลศักราช ๑๑๕๐ (พ.ศ. ๒๓๓๑) เจ้าฟ้าอัทธวรปัญโญ 

          เจ้าผู้ครองนครน่านได้ลงไปทูลพระมหากษัตริย์ที่กรุงเทพฯ และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน นับแต่นั้น เมืองน่านจึงอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าฟ้าอัทธวรปัญโญ ทรงสร้างความชอบ ไว้มากมาย เป็นที่พอพระราชหฤทัยของรัชกาลที่หนึ่ง จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น เจ้าฟ้าอัทธวรปัญโญ ผู้เป็นเสมือนพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์

ในสมัยเจ้าสุมนเทวราชครองเมืองน่าน จุลศักราช ๑๑๗๙ (พ.ศ.๒๓๖๐) เมืองน่านเกิดน้ำท่วมใหญ่ เจ้าสุมนเทวราช จึงได้ขอพระราชทานอนุญาตจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ย้ายศูนย์กลางการปกครองไปยังดงพระเนตรช้าง ห่างจากเมืองเก่าน่านไปทางทิศเหนือ ประมาณ ๓๖ เส้น หรือ ๑,๔๔๐ เมตร เรียกว่า เวียงเหนือ คู่กับเมืองเก่าน่าน ว่า เวียงใต้

เมื่อแม่น้ำน่านได้เปลี่ยนทางเดินน้ำถอยห่างออกจากเมืองน่านเดิมหรือเวียงใต้ ในปีจุลศักราช ๑๒๑๗ (พ.ศ.๒๓๙๘) เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ได้ขอพระราชทานอนุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซ่อมแซมเมืองเก่าน่านและย้ายศูนย์กลางการปกครองกลับมายังเมืองน่านเดิม ณ ที่ตั้งเมืองน่านปัจจุบันอีกครั้ง

ตลอดระยะเวลาที่อยู่ภายใต้โพธิสมภารของกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองน่านอยู่ในฐานะเมืองประเทศราช มีเจ้าผู้ครองนคร ปกครองตนเอง แม้จะมีการปฏิรูปการปกครองโดยกรุงเทพฯ ส่งข้าหลวงเพื่อมาช่วยในการราชการบ้านเมืองก็ตามที แต่เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ ถึงแก่พิราลัย ในปี ๒๔๗๔ หลังจากนั้นก็ไม่มีการแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครน่าน ถือว่าความเป็นเมืองประเทศราชของน่านสิ้นสุดลง จังหวัดน่านได้เปลี่ยนแปลงเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย

สถานที่ท่องเที่ยว

อยู่ที่ตำบลเชียงของอำเภอนาน้อย มีลักษณะเป็นเนินดิน ซึ่งถูกกัดเซาะ จนสึกกร่อนเป็นรูปร่างต่าง ๆ แปลกตาซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่ธรรมชาติสร้างขึ้นอย่างหนึ่ง คอกเสือมีลักษณะคล้ายเสาดิน สูงถึง 20-30 ม.อยู่ห่างจากเสาดินประมาณ 1 กม.

ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม เป็นหุบผาเหมือนฉากม่านขนาดใหญ่ มีริ้วลายเป็นร่องยาว รวมถึงมีแท่งดินรูปร่างต่างๆ กระจัดกระจายอยู่ภายใน ชาวบ้านเล่าว่า ในอดีตบริเวณนี้มีเสือมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

เสาหลักเมืองน่าน ซึ่งแต่เดิมเรียกว่าเสามิ่งเมืองเดิมเป็น ไม้สักทองขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓ ฟุต สูง ประมาณ ๓ เมตร ลักษณะเป็นเสาทรงกลมส่วนหัวเสาเกลาเป็น ดอกบัวตูมฝังไว้กับพื้นที่ดินโดยตรง ไม่มีศาลหรืออาคารครอบ แต่อย่างใด สันนิษฐานว่าอาจจะสร้างขึ้นในสมัยเจ้าอัตถวรปัญโญ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน เหตุเพราะแต่ก่อนมานั้นเมืองน่านไม่มีคติการสร้าง เสาหลักเมือง
ถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน จัดขึ้นทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ของสัปดาห์และตลอดเดือนจะมีการจำหน่ายสินค้า ณ บริเวณถนนผากองด้านข้างวัดภูมินทร์ และจะมีลานข่วงเมืองน่านขนาดใหญ่ ด้านหน้าวัดภูมินทร์ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปที่ต้องการมาสัมผัสถึงกลิ่นอายวัฒนธรรมของคนเมืองน่านโดยการนั่งรับประทานอาหารแบบขันโตกพื้นเมือง ชมการแสดงทางวัฒนธรรม และจะมีการจำหน่ายสินค้า อาหารพื้นเมือง เสื้อผ้าพื้นเมืองของที่ระลึก ไว้ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาลองชิมและเลือกซื้อของฝากกลับบ้านถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่านมีจำนวนร้านค้า มาจำหน่ายสินค้า อาหารการกิน จำนวนมากถึง357ร้านโดยจะแบ่งออกเป็น2โซน คือ โซนอาหาร160ร้านและโซนเสื้อผ้า กิ๊ฟช็อป ของที่ระลึก197ร้านซึ่งอาหารที่ได้รับการตอบรับดีส่วนมากจะเป็นอาหารพื้นเมือง อาทิ น้ำพริกอ่อง ใส้อั่ว ไกยี แกงฮังเล และแกงแค ส่วนเสื้อผ้าและของที่ระลึกส่วนมากจะเป็นเสื้อผ้าฝ้ายสีดำ สีขาว สิ้นค้าทำมือที่ทำมาจากผ้าฝ้ายก็ได้รับการตอบรับอย่างดีเช่นเดียวกัน ในขณะที่ถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่านแห่งนี้รณรงค์ให้เป็นถนนคนเดินปลอดโฟม เพื่อสิ่งแวดล้อม100%อีกด้วยนักท่องเที่ยวสามารถเดินเลือกซื้ออาหาร มากมายหลากหลาย ทั้งคาวหวาน อาหารพื้นเมือง ยำรวม ผักผลไม้ น้ำหวาน คั้นจากผลไม้ต่างๆนาๆ จะหาส้มตำแซ่บก็มี หาซื้อเสื้อผ้าพื้นเมือง สำเร็จรูป ของฝากของที่ระลึกจากจังหวัดน่าน และสามารถนำอาหารไปนั่งปูเสื่อฟังเพลง ดนตรีพื้นบ้านโฟล์คซองและเพื่อชีวิต ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันสร้างสีสันในยามค่ำคืน ณ ลานข่วงเมือง เทศบาลเมืองน่าน ตั้งแต่เวลา17.00 – 22.00น.
Shops in Nan

Leave a Reply

Related Post

ระยองระยอง

ระยอง เริ่มปรากฎชื่อในพงศาวดารเมื่อปี พ.ศ.2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีประวัติดั้งเดิมตามข้อสันนิษฐานว่า น่าจะก่อตั้งเมืองขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1500 ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่พบ คือ ซากศิลาแลงคูค่าย ที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม โดยในสมัยโบราณ ระยองมีชนพื้นเมืองคือชาวซอง ซึ่งเป็นเผ่าที่อาศัยอยู่กระจายโดยทั่วไปในภาคตะวันออก ในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเมืองระยองในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ในเดือนยี่ปี พ.ศ.2309 พระยาวชิรปราการ หรือ พระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ 500 คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า

อุดรธานีอุดรธานี

พื้นที่ที่จังหวัดอุดรธานีปรากฎในประวัติศาสตร์เมื่อราวปีจอ พ.ศ.2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทน์และเมืองหนองบัวลำภูนี้เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ ในสมัยกรุงรัตนโกสินเป็นราชธานีนั้น จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงคราม กล่าวคือในระหว่าง พ.ศ.2369- 2371 ได้เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีผู้นำคือคุณหญิงโม(ท้าวสุรนารี) กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงส์แตกพ่ายไป กระทั่งในปลายสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 ประมาณ พ.ศ.2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราวในปี พ.ศ. 2428 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้าย กำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ

บุรีรัมย์บุรีรัมย์

บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทราวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์มาก คือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผา,ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร สถานที่ท่องเที่ยว อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ