ตรัง

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีที่ปรากฏในจังหวัดตรังมีอยู่ทั่วไป เช่น โครงกระดูกมนุษย์โบราณที่ถ้ำซาไก อำเภอปะเหลียน ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด เศษภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้ว  เครื่องประดับ ตามถ้ำต่าง ๆ เช่น เขาสามบาตร ถ้ำเขาไม้แก้ว ถ้ำเขาเทียมป่า ภาพเขียนสีที่เขาแบนะ ถ้ำตรา ล้วนเป็นหลักฐานบอกความเป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์จนถึงแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ต่อมาจึงมีหลักฐานที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับอาณาจักรโบราณทางภาคใต้ในลักษณะที่เป็นเมืองท่าทางผ่าน และมีพัฒนาการมาตามลำดับ

จังหวัดตรังในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราชเจมส์ โลว์ หัวหน้าคณะทูตของผู้ว่าเกาะปีนัง ผู้รับหน้าที่เจรจาปัญหากับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ได้บันทึกไว้ใน จดหมายเหตุเจมส์ โลว์ ว่าตรังเป็นตำบลที่กว้างใหญ่และมีประชากรน้อยมาก มีป่าไม้สักที่ยิ่งเหมาะสำหรับการต่อเรือและพื้นดินก็ปลูกข้าวได้ผลมากมาย แม่น้ำตรังเป็นที่รวมของลำน้ำที่ไหลมาจากปากแม่น้ำหลายแห่ง แม่น้ำแคบและมีสันดอนกั้นขวางอยู่ เวลาน้ำขึ้นสูงเรือสำเภาขนาดใหญ่สามารถแล่นผ่านเข้าไปถึงตอนในที่น้ำลึกกว่าได้และแล่นเรือขึ้นไปถึงหมู่บ้านเล็ก ๆ บางแห่งบนฝั่งแม่น้ำนี้

เจมส์ โลว์ กล่าวถึงการค้าของเมืองตรังว่าเมืองท่าตรังมีสินค้าออกเพียง 23 ชนิด แต่ตรังก็สร้างผลประโยชน์ให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี เรือค้าขายที่มาถึงตรังถ้าเป็นเรือค้าขายของยุโรปต้องคอยความพอใจของท่านเจ้าเมืองก่อนจึงจะสามารถเริ่มดำเนินการค้าได้ คนจีนจากปีนังเข้ามาดำเนินการค้าเล็กๆ น้อยๆ ธุรกิจการส่งสินค้าออกมีหลายอย่าง คือ ดีบุก ข้าว งาช้างเล็ก ๆ รังนก ซึ่งดีบุกที่นี่มีราคาแพงกว่าที่ถลาง

ตรังเป็นจังหวัดแรกที่มีต้นยางพารามาปลูก โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) นำพันธุ์ยางพารามาจากมาเลเซีย และในตรังยังมีต้นยางพาราต้นแรกอีกด้วย

สถานที่ท่องเที่ยว

ถ้ำมรกต เป็นถ้ำที่อยู่บนเกาะมุกต์ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ถ้ำมรกต ถ้ำมหัศจรรย์กลางทะเล จะเข้าออกได้เฉพาะช่วงน้ำลงเท่านั้น ปากถ้ำเป็นโพรงเล็กๆ การเข้าออกจะต้องลอยคอในน้ำ ลอดถ้ำอันมืดมิด ผ่านเส้นทางคดโค้ง น่าตื่นเต้น ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเที่ยวถ้ำมรกตคือช่วงที่น้ำขึ้นเต็มที่ในแต่ละวัน เนื่องจากจะเห็นทะเลสาบสีมรกตงดงามและเวลาที่แสงจะลอดปากถ้ำมรกตลงมา คือช่วงเวลาระหว่าง10.00-14.00น. การลอดถ้ำสามารถทำได้ตลอดเวลา เดือนที่เหมาะสมในการท่องเที่ยวคือระหว่างเดือนธันวาคม ถึงต้นเดือนพฤษภาคม เวลาน้ำลงเพื่อมุดเข้าถ้ำมรกตได้ หากใครที่ต้องการที่จะเข้าไปจะต้องทำเวลา เพราะมีช่วงเวลาน้ำขึ้นน้ำลงเป็นเวลา ถ้ำมรกตจึงมีผู้คนไปเยี่ยมชมไม่ขาดสายเลย ใช่ว่าถ้ำจะมีอะไรที่แปลกไปมากกว่าที่อื่นนัก แต่ความตื่นตาตื่นใจ อยู่ที่การว่ายน้ำลอดถ้ำเข้าไป เพราะการที่นักท่องเที่ยวจะเข้าถึงตัวถ้ำได้ต้องใช้ความสามัคคีกันมาก ชื่อของ ถ้ำมรกต ที่เรารู้จักกันดีก็คือการได้เห็นความเขียวของน้ำที่สะท้อนออกมาจากแสงที่ส่องผ่านปากถ้ำ เห็นเป็นสีเขียวมรกตสวยงดงาม ตื่นตาตื่นใจกับการที่ได้เห็นความสวยงามของธรรมชาติ

ทะเลอันดันมัน ที่สวยงามของภาคใต้ ก็มี ทะเล จังหวัดตรัง เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามมากๆ เช่นเดียวกัน และกับเกาะที่ใครหลายๆ คนอาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าใครที่อยากหาที่เที่ยวสงบ เพื่อพักผ่อน ท่ามกลางทะเล อยากจะแนะนำให้มาที่ เกาะมุก ที่เรากำลังจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกัน

เกาะมุก เกาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของทะเลเมืองตรัง และยังคงเงียบสงบ คงความเป็นธรรมชาติ และวิถีชีวิตของชาวเกาะ ทำให้กลายเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ของ เกาะมุก เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ชอบความวุ่นวาย ถึงแม้ว่าที่นี่จะเปิดให้ท่องเที่ยวกัน แต่วิถีชีวิตของชาวบ้านบนเกาะนั้น ก็ยังคงไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร ทั้งวิถีชาวประมง และวิถีของชาวสวนยางพารา และการทำสวนมะพร้าว ก็ยังคงเดิมอยู่ จะมีเพียงแค่ร้านอาหาร รีสอร์ท บ้านพักโฮมสเตย์ ที่เพิ่มเข้ามาเพื่อบริการแก่นักท่องเที่ยวเท่านั้นค่ะ

บน เกาะมุก แห่งนี้ จะมีหาดสวยๆ ถึง 2 หาดด้วยกันที่ต้องห้ามพลาด หาดแรกก็คือ หาดฝรั่ง เป็นหาดที่มีที่พักเรียงกันอยู่หลายหลัง อยู่บนหาดทรายสีขาวกว้าง และจะมีบริการทางการท่องเที่ยวต่างๆ อีกด้วยค่ะ ไม่ว่าจะออกไปเที่ยวที่ตามเกาะไหนๆ ของทะเลตรัง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็จะมากันที่นี่ค่ะ หาดที่สอง คือ หาดสบาย เป็นหาดทรายสีนวลเช่นกัน แต่จะมีความเงียบสงบ จึงมีกลุ่มนักท่องเที่ยวมาจอดเรือแวะพักเล่นน้ำ อาบแดดกันสบายๆ เป็นหาดที่เน้นความชิลๆ

อยู่ในท้องที่บ้านควนแคง หมู่ที่ 7 ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหวาง ป่าควนแคง และป่าน้ำราบ มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ ซึ่งกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549

จากบริเวณที่อุดมไปด้วยบ่อน้ำร้อนธรรมชาติใต้ผิวดินมาสู่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในปัจจุบัน อันเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวตรังและนักท่องเที่ยวทั่วไปเป็นอย่างดี โดยได้รับการจัดตั้งให้เป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่9มิถุนายน พ.ศ.2549สภาพทั่วไป วนอุทยานฯ แห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหวาง ป่าควนแคง และป่าน้ำราบ มีเนื้อที่ประมาณ500ไร่ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาผสมผสานกับสภาพป่าเป็นดงดิบชื้น และบางส่วนเป็นป่าพรุที่มีน้ำท่วมขังตลอดปี อีกทั้งมีพื้นที่บางส่วนเป็นพรุน้ำร้อนมีน้ำไหลผุดจากใต้ดินตลอดเวลา พืชพรรณและสัตว์ป่า จัดว่าค่อนข้างมีสภาพป่าที่สมบูรณ์ปานกลาง โดยพันธุ์ไม้ที่พบได้ แก่ ยาง ตะเคียน หว้า ชมพู่ป่า ทุ้งฟ้า ก่อ แดงควน กระโดน ตังหน หวาย หลุมพี ปาล์ม กล้วยไม้ และสัตว์ป่าที่พบได้แก่ ชะมด ค้างแว่นถิ่นใต้ กระจง ไก่ป่า นกชนิดต่าง ๆ เต่า กบ เขียด งู สถานที่น่าสนใจ ได้แก่ บ่อน้ำร้อนควนแคง บริเวณพื้นที่พรุน้ำร้อน โดยได้พัฒนาปรับปรุงเป็นบ่อน้ำร้อน จำนวน3บ่อ มีอุณหภูมิของน้ำประมาณ70องศา /40องศา /30องศา ตามลำดับ ซึ่งนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปนิยมมาแช่เท้าและอาบน้ำร้อนเพื่อสุขภาพ ณ ที่แห่งนี้ โดยมีห้องอาบน้ำและห้องแช่น้ำร้อนให้บริการเพื่อความเป็นส่วนตัว เส้นทางศึกษาธรรมชาติบริเวณพื้นที่พรุน้ำร้อนและพื้นที่ป่าดงดิบ ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติจำนวน3เส้นทาง ในระยะทาง500เมตร750เมตร และ2,000เมตร ตามลำดับ เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งส่งเสริมสันทนาการและการท่องเที่ยว
Shops in Trang

Leave a Reply

Related Post

เชียงใหม่เชียงใหม่

“ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์” เมืองเชียงใหม่ มีชื่อที่ปรากฏในตำนานว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาไทยมาตั้งแต่พระยามังรายได้ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.1839 ซึ่งมี อายุครบ 710 ปี ในปี พ.ศ.2549 และเมืองเชียงใหม่ได้มีวิวัฒนาการ สืบเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ตลอดมา เชียงใหม่มีฐานะเป็นนครหลวงอิสระ ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ.1839-2100) ในปี พ.ศ.2101    เชียงใหม่ได้เสียเอกราชให้แก่กษัตริย์พม่าชื่อบุเรงนอง และได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านานร่วมสองร้อยปี

นครสวรรค์นครสวรรค์

นครสวรรค์  เป็นเมืองโบราณซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีปรากฏชื่อในศิลาจารึกเรียกว่า  เมืองพระบาง  เป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำศึกสงครามมาทุกสมัย  ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวเมืองดังเดิมตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาขาด (เขาฤาษี)  จรดวัดหัวเมือง (วัดนครสวรรค์) ยังมีเชิงเทินดินเป็นแนวปรากฏอยู่  เมืองพระบาง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น เมืองชอนตะวัน  เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และหันหน้าเมืองไปทางแม่น้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกทำให้แสงอาทิตย์ส่องเข้าหน้าเมืองตลอดเวลา แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น เมืองนครสวรรค์ เป็นศุภนิมิตอันดี นครสวรรค์  มีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาแต่เดิมว่า  ปากน้ำโพ  โดยปรากฏเรียกกันมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา  ตามประวัติศาสตร์ในคราวที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  กองทัพเรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ยกไปรับทัพข้าศึกที่ ปากน้ำโพ  แต่ต้านทัพข้าศึกไม่ไหว

ระยองระยอง

ระยอง เริ่มปรากฎชื่อในพงศาวดารเมื่อปี พ.ศ.2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีประวัติดั้งเดิมตามข้อสันนิษฐานว่า น่าจะก่อตั้งเมืองขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1500 ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่พบ คือ ซากศิลาแลงคูค่าย ที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม โดยในสมัยโบราณ ระยองมีชนพื้นเมืองคือชาวซอง ซึ่งเป็นเผ่าที่อาศัยอยู่กระจายโดยทั่วไปในภาคตะวันออก ในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเมืองระยองในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ในเดือนยี่ปี พ.ศ.2309 พระยาวชิรปราการ หรือ พระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ 500 คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า