นนทบุรี

จังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ในภาคกลาง บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นจังหวัด1ใน5ของจังหวัดปริมณฑล คือ นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร และปทุมธานี มีเนื้อที่ประมาณ622.38
ตารางกิโลเมตร (เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ของจังหวัดในภาคกลางทั้งหมด จังหวัดนนทบุรีมีขนาดเล็กเป็นที่2
รองจากจังหวัดสมุทรสงคราม) โดยแม่น้ำเจ้าพระยาได้ตัดแบ่งพื้นที่ของจังหวัดออกเป็น2ส่วน คือ ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก จังหวัดนนทบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ20กิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอทั้งหมด6อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางกรวย และอำเภอไทรน้อย มีองค์กรปกครอง ท้องถิ่นประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด1แห่ง เทศบาลนคร2แห่ง เทศบาลเมือง4แห่งเทศบาลตำบล11แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล28แห่ง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแต่เดิมประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนผลไม้ และทำไร่ ทำนา ปัจจุบันพื้นที่ของจังหวัดซึ่งเคยเป็นสวนผลไม้และมีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพฯ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนที่อพยพมาจากทุกภาคของประเทศนอกจากนี้ พื้นที่บางส่วนของจังหวัดในบางอำเภอยังเป็นที่รองรับการขยายตัวในด้านอุตสาหกรรม มีการจัดสรรที่ดินและก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม เป็นจำนวนมาก อาจกล่าวได้ว่าพื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัดซึ่งเป็นพื้นที่มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ ด้วย

สถานที่ท่องเที่ยว

เกาะเกร็ด เป็นเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บริเวณ ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดดเ่นเลื่องลือในฐานะที่เป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมไทยรามัญอันเป็นเอกลักษณ์ทั้งวัด สิ่งปลูกสร้าง และงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาลายวิจิตร ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยเชื้อสายมอญ ชมวิถีชีวิตริมน้ำ

ในอดีตเกาะเกร็ดเป็นเพียงปลายแหลมริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่หลังจากมีการขุดคลองลัดเกร็ดน้อย เมื่อปี พ.ศ. 2265 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแห่งกรุงศรีอยุธยาแผ่นดินปลายแหล่มแห่งนี้กลายแนเกาะขนาดใหญ่ เดิมเรียกว่า “เกาะศาลากุน” เป็นเกาะที่มีความเจริญตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสันนิฐานได้จากวัดวาอารามต่างๆบนเกาะส่วนใหญ่เป็นศิลปะในสมัยอยุธยา และคงถูกทิ้งร้าง ไปในสมัยกรุงแตก แต่หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ ได้โปรดเกล้าฯให้ชาวมอญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิ์สมภารอพยพมาอยู่บนเกาะแห่งนี้ เมื่อราว 200 ปี ก่อน และอีกครั้งหนึ่งในสมัยล้นเกล้าฯ รัชการที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมา เมื่อตั้ง อำเภอปากเกร็ดขึ้นแล้ว เกาะศาลากุน จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นตำบลและเรียกชื่อตามภาษามอญว่า “เกาะเกร็ด” ซึ่งคำว่าเกร็ด หรือเตร็จ หมายถึง ลำน้ำเล็กๆที่ขุดเชื่อมลำน้ำใหญ่

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมในยุคหมิง-ชิง โดยจำลองมาจากพระราชวังต้องห้ามในกรุงปักกิ่ง มีความสง่างามและมีรายละเอียดการตกแต่งที่ประณีตยิ่ง โดยทางวัดได้เชิญช่างฝีมือชั้นครูจากประเทศจีนมาดำเนินการก่อสร้างโดยตรง วิหารแต่ละหลังประดับด้วยลวดลายภาพเขียนสีพุทธศิลป์แบบจีนใช้สีน้ำเงิน แดงและทองเป็นหลัก ตามผนังและเพดานมีคาถา โอม มา นี ปะ หมี่ ฮง เป็นตัวอักษรสีทอง ที่เชื่อว่าขับไล่สิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ได้ หลังคาวิหารมุงด้วยกระเบื้องเผาแบบจีน สีเหลืองเข้ม นอกจากนี้ รายรอบพระวิหารยังประดับด้วยหินแกะสลักต่าง ๆ มากมายซึ่งล้วนนำมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเหมาะอย่างยิ่งแก่การศึกษาพุทธศิลป์ของจีน

คนไทยเชื้อสายจีน 63 ตระกูลแซ่ได้ร่วมกันสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ในมหามงคลที่ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี โดยได้นำวัสดุก่อสร้างมาจากประเทศจีน โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการกว่า 12 ปี และสร้างขึ้นตามแบบพุทธศิลป์ในราชวงค์หมิงและชิงก่อเกิดเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามละม้ายคล้ายพระราชวังปักกิ่ง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเจ้า 3 องค์ คือ องค์อดีต องค์ปัจจุบัน และองค์อนาคต ประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิมที่แกะสลักจากไม้หอมต้นเดียว และองค์เทพสำคัญของลัทธิมหายาน

สร้างขึ้นสมัยกรุงธนบุรี โดยพระยาเจ่งชาวมอญเป็นผู้สร้าง ภายในวัดมีศิลปะแบบมอญ เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหาร และยังมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ตั้งอยู่ภายในวิหารแบบเปิดโล่ง มีศาลสมเด็จพระนางเรือล่มสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เกิดเหตุเรือล่มในแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเหตุให้สวรรคต เมื่อพบศพแล้วจึงได้อัญเชิญพระศพสู่พระบรมมหาราชวังต่อไป

ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบางพูด ในซอยปากเกร็ด 3 บริเวณริมน้ำหน้าวัดเป็นจุดที่เรือพระที่นั่งของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระมเหสีในรัชกาลที่ 5 ประสบอุบัติเหตุเรือล่มสิ้นพระชนม์ วัดนี้สร้างในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นศิลปะแบบมอญ ภายในโบสถ์หลังเก่ามีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบมอญ เป็นภาพเขียนสีน้ำมันเรื่องราวพุทธประวัติ วิหารประดิษฐานพระนอนองค์ใหญ่ ด้านข้างวิหารเป็นที่เก็บเรือพระที่นั่งของพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ที่อับปางซึ่งชาวบ้านได้กู้ขึ้นมา และมีพระตำหนักที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์สิ้นพระชนม์และเมื่อคราวเรือล่มได้อัญเชิญพระศพมาไว้ที่วัดนี้ชั่วคราว มีศาลพระนางเรือล่ม (พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์) ซึ่งจำลองแบบจากศาลาจตุรมุขของพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ที่พระราชวังบางปะอิน

Shops in Nonthaburi
shop_img

ร้าน สลิมมิ่ง เวย์

ประเภทร้านค้า: สุขภาพและความงาม
สาขา: สลิมมิ่ง เวย์
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน Eatpreorder

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา:
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน เดอะ ไลอ้อน มิลค์ที บางใหญ่

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: บางใหญ่
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน ยำยักษ์ ชานมไข่มุกพ่นไฟ

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: ยำยักษ์ ชานมไข่มุกพ่นไฟ (สาขาพิบูลสงคราม)
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน จัดจ้านกะเพรา29บาท

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: จัดจ้านกะเพรา 29 บาท
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน ร้านคุณยายขนมเบื้อง ขนมถังเงินถังทอง

ประเภทร้านค้า: ตลาด
สาขา: ตลาดเจ้าพระยาไนน์
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน โคมู เฮาส์

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: หน้าหมู่บ้านมนรดา 2
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน แม่แป๊ว homemade steak

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: ซอยแก้วอินทร์
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน เสื้อผ้าเด็กบ้านจ้าวขา

ประเภทร้านค้า: แฟชั่น
สาขา: เสื้อผ้าเด็กบ้านจ้าวขา
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน ณ. จุดเริ่มต้น

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: ชัยพฤกษ์
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


Leave a Reply

Related Post

ขอนแก่นขอนแก่น

ในปี พ.ศ. 2332 ท้าวเพียเมืองแพน ได้พาบุตรพร้อมด้วยผู้คนประมาณ 330 ครอบครัว อพยพจากบ้านชีหล่น แขวงเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด) มาตั้งอยู่ที่บ้านบึงบอน (บ้านเมืองเก่า ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น ปัจจุบันนี้) เดิมขึ้นอยู่กับพระยานครราชสีมา ต่อมามีใบบอกลงมายังกรุงเทพฯและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระบรมราชโองการยกฐานะบ้านบึงบอนขึ้นเป็น “เมืองขอนแก่น” เมื่อ พ.ศ. 2340 ตั้งให้ “ท้าวศักดิ์” ซึ่งเป็น “ท้าวเพียเมืองแพน” เป็นเจ้าเมืองขอนแก่น มีนามว่า

ภูเก็ตภูเก็ต

ภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า “ภูเขา” ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า “บูเก๊ะ” หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ

แพร่แพร่

“หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ. ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม” จังหวัดแพร่เป็นอาณาจักรเก่าแก่มาช้านานกว่าพันปี เมืองแพร่สร้างขึ้นในสมัยใดไม่มีหลักฐานจารึกที่แน่นอน ประวัติศาสตร์ของเมืองแพร่จึงต้องใช้หลักฐานอ้างอิงจากจารึกเมืองอื่น เช่น เช่น พงศาวดารโยนก ตำนานเมืองเหนือ ตำนาน การสร้างพระธาตุลำปางหลวง และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นต้นนำข้อมูลจากหลายๆตำนานมาเชื่อมโยงกัน เนื่องจากไม่มีหลักฐาน ที่เกี่ยวข้อง           ตำนานพระธาตุช่อแฮ จารึกไว้ว่า เมืองแพร่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล ในตำนานวัดหลวงจารึกไว้ว่าเมื่อประมาณ พ.ศ.1371 พ่อขุนหลวงพล ราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้า ได้อพยพชาวไทลื้อและชาวไทเขินจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำ ลงมาสร้างเมืองบนที่ราบริมแม่น้ำยม ตั้งชื่อว่า