ขอนแก่น

ในปี พ.ศ. 2332 ท้าวเพียเมืองแพน ได้พาบุตรพร้อมด้วยผู้คนประมาณ 330 ครอบครัว อพยพจากบ้านชีหล่น แขวงเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด) มาตั้งอยู่ที่บ้านบึงบอน (บ้านเมืองเก่า ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น ปัจจุบันนี้) เดิมขึ้นอยู่กับพระยานครราชสีมา ต่อมามีใบบอกลงมายังกรุงเทพฯและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระบรมราชโองการยกฐานะบ้านบึงบอนขึ้นเป็น “เมืองขอนแก่น” เมื่อ พ.ศ. 2340 ตั้งให้ “ท้าวศักดิ์” ซึ่งเป็น “ท้าวเพียเมืองแพน” เป็นเจ้าเมืองขอนแก่น มีนามว่า “พระนครศรีบริรักษ์บรมราชภักดี” หรือผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่นคนแรก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา     การตั้งชื่อเมืองขอนแก่นแต่เดิมท้องถิ่น บ้านขาม ( ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ในปัจจุบัน) มีเนินดินอยู่ตรงกลางทุ่ง มีน้ำลอมรอบในหน้าน้ำและมีต้นมะขามต้นหนึ่งตายไปนานแล้วเหลือแต่ตอที่เป็นแก่น เมื่อมีการสร้างพระธาตุพนม พระยาหลังเขียวและพระอรหันต์ทั้ง 9 พร้อมด้วยข้าราชบริพารจะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้าไปบรรจุที่พระธาตุพนม แต่การเดินทางมาค่ำมืดที่ตรงดอนที่มีน้ำล้อมรอบ จึงหยุดและวางสัมภาระตลอดจนพระอังคารไว้บนตอมะขาม ขณะพักผ่อนหลับนอน พอรุ่งขึ้นจึงเดินทางต่อไป     เมื่อไปถึงพระธาตุพนมปรากฏว่าได้สร้างเสร็จแล้ว จะเอาอะไรเข้าบรรจุอีกไม่ได้จึงพากันนมัสการพระธาตุพนมแล้วเดินทางกลับมาตามทางเดิม เมื่อมาถึงเนินดินที่เคยพักผ่อน ต้นมะขามที่ตายไปเหลือแต่แก่นกลับผลิใบเขียวชอุ่มเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พระอรหันต์ทั้ง 9 พร้อมด้วยพระยาหลังเขียวจึงตกลงสร้างเจดีย์คร่อมต้นมะขามไว้ แล้วบรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าลงไว้ ชาวบ้านเรียกเจดีย์องค์นี้ว่า “พระธาตุขามแก่น”     เมื่อท้าวเพียเมืองแพนอพยพมาจากบ้านชีหล่น มาตั้งอยู่ที่บ้านบึงบอน จึงได้ถือเอาปูชนียสถานแห่งนี้ เป็นชื่อเมืองขอนแก่น เพราะท่อนไม้แห้ง ๆ เหลือแต่แก่นนั้น ชาวพื้นเมืองจะเรียกว่า “ขอน” ท้าวเพียเมืองแพน ผู้เป็นปฐมเจ้าเมืองจึงได้ตั้งชื่อเมืองว่า “ขอนแก่น”     เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้ว ท้าวเพียเมืองแพน ได้สร้างวัดขึ้น 3 วัด คือ วัดใต้ (ปัจจุบันคือ วัดธาตุพระอารามหลวง) วัดกลาง (ปัจจุบันคือ วัดกลางเมืองเก่า) และวัดเหนือ (ปัจจุบันคือ วัดหนองแวงพระอารามหลวง) เมืองขอนแก่น ตั้งอยู่บ้านดอนพันชาดเป็นเวลา 27 ปีและได้มีการย้ายที่ตั้งหลายครั้ง ที่นานที่สุดคือตั้งที่ตำบลพระลับ 55 ปี จากนั้นจึงย้ายมาที่ศูนย์ราชการปัจจุบัน มีตำแหน่งที่เรียกว่าพระนครศรีบริรักษ์ 7 คน ที่สำคัญ คือ ท้าวอิน ท้าวมุ่ง นางน้อย พระนครศรีบริรักษ์ (ท้าวจาม)     จังหวัดขอนแก่น ได้สร้างอนุสาวรีย์ท้าวเพียเมืองแพน บริเวณสนาม เจ ซี (เดิม) ริมบึงแก่นนครข้างที่ตั้งสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ขอนแก่นเดิม เมื่อปี 2545 ได้มีการปรับปรุงบูรณะอนุสาวรีย์และบริเวณโดยรอบจนสวยงาม และมีการทำพิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์ท้าวเพียเมืองแพน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี และเมื่อปี 2547 ได้มีพิธีบวงสรวงในช่วงการจัดงานเทศกาลไหมฯ ด้วยเนื่องจากเริ่มมีการแสดง แสง-เสียง เล่าตำนานเมืองลือเรื่องนครขอนแก่น ณ เวทีกลาง เป็นครั้งแรก

สถานที่ท่องเที่ยว

มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาล้อมรอบเป็นวงอยู่ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นแอ่งขนาดใหญ่ คล้ายแอ่งกระทะซึ่งเป็นที่ราบและลอนลาด ส่วนพื้นที่โดยรอบแอ่งมีลักษณะเป็นเทือกเขาซึ่งมีมุมเทเข้าหาใจกลางแอ่ง ประกอบด้วยเทือกเขาที่มีความลาดชันปานกลางถึงลาดชันสูง เทือกเขาชั้นนอกสุดมียอดเขาสูงสุด 844 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่ และเทือกเขาชั้นในมียอดเขาสูงสุด 470 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทิศเหนือของพื้นที่เทือกเขาชั้นในนี่เองที่เป็นแหล่งฟอสซิลไดโนเสาร์ ส่วนระดับต่ำสุดของเชิงเขาอยู่ระดับ 210 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง อุทยานแห่งชาติภูเวียงตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราชมีลักษณะเป็นหินชั้น ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนบนแผ่นดินหนากว่า 4,000 เมตร ชั้นของหินตะกอนมักมีสีแดงเกือบทั้งหมดเรียกว่าหินชั้นตะกอนแดง หรือกลุ่มหินโคราช ประกอบด้วย หน่วยหินเขาพระวิหาร หินเสาขัว หินภูพาน และหินโคกกรวด หินดังกล่าวถูกปกคลุมด้วยตะกอนร่วนและดินยุคควอเทอร์นารี่ และยุคปัจจุบัน ซึ่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงนั้นยังมีการสำรวจสายแร่ยูเรเนียมในพื้นที่อีกด้วย อุทยานแห่งชาติภูเวียงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของห้วยทรายขาวซึ่งจะไหลลงลำน้ำพอง ห้วยบั้งทิ้ง ห้วยน้ำไหล ซึ่งจะไหลลงลำน้ำเชิญ ห้วยเรือ ห้วยขุมปูน ห้วยน้ำบอง และห้วยมะนาว ซึ่งจะไหลลงห้วยบอง ทั้งลำน้ำพอง หัวยบอง และลำน้ำเชิญ จะไหลลงอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 ได้มีการค้นพบรอยเท้าและซากกระดูกไดโนเสาร์ และสัตว์โลกดึกดำบรรพ์อายุเกือบ 200 ล้านปี
เรียกตามชื่อของภูเขาเทือกหนึ่งทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติที่มีหน้าผาสูงชันคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มองดูเหมือนกับผ้าม่านผืนใหญ่ อยู่ในท้องที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 350 ตารางกิโลเมตร หรือ 218

,

750 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาหินปูนที่มีความสูงชันสลับซับซ้อนกันเป็นแนวยาวสลับกับที่ราบลุ่มเชิงเขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 200-800 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของห้วยภูฮี ห้วยชมพู ห้วยคะเฮ้า ห้วยจอก ห้วยยาง ห้วยซำแคน ห้วยตากว้าง ห้วยข้าวหลาม ห้วยสงขะยวน และห้วยหม้อแตก ซึ่งลำห้วยเหล่านี้ไหลลงสู่ลำน้ำพองที่ไหลมาจากอุทยานแห่งชาติภูกระดึงและลำน้ำเชิญในจังหวัดขอนแก่น สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายและดินลูกรังอยู่ปะปนกับหินชนิดต่างๆ
สวนสัตว์ขอนแก่น (อุทยานสัตว์ป่าอีสานตอนบน ขอนแก่น-อุดรธานี) อ.เขาสวนกวาง ตั้งอยู่ภูเขาสวนกวาง เนื้อที่กว่า 4,600 ไร่ แบ่งการจัดแสดงสัตว์ออกเป็นส่วนต่างๆ ได้แก่ สัตว์ตระกูลกวาง สัตว์แอฟริกา สัตว์กีบต่างประเทศ สัตว์ประเภทอูฐ จิงโจ้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแคมปิ้งและค่ายเรียนรู้ ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไกล เดินป่าศึกษาธรรมชาติ เรียนรู้ชีวิตสัตว์ป่าและอื่นๆอีกมากมาย
Shops in Khon Kaen

Leave a Reply

Related Post

กาญจนบุรีกาญจนบุรี

กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม่า ความเป็นมาของกาญจนบุรีเท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก[3] สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม[3] สมัยบายน กาญจนบุรียังปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำสงครามระหว่างกองทัพไทยกับพม่า จนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ เดิมตัวเมืองกาญจนบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า (บริเวณเขาชนไก่ในปัจจุบัน) ภายหลังจนถึง พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่

อุดรธานีอุดรธานี

พื้นที่ที่จังหวัดอุดรธานีปรากฎในประวัติศาสตร์เมื่อราวปีจอ พ.ศ.2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทน์และเมืองหนองบัวลำภูนี้เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ ในสมัยกรุงรัตนโกสินเป็นราชธานีนั้น จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงคราม กล่าวคือในระหว่าง พ.ศ.2369- 2371 ได้เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีผู้นำคือคุณหญิงโม(ท้าวสุรนารี) กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงส์แตกพ่ายไป กระทั่งในปลายสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 ประมาณ พ.ศ.2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราวในปี พ.ศ. 2428 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้าย กำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ

แพร่แพร่

“หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ. ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม” จังหวัดแพร่เป็นอาณาจักรเก่าแก่มาช้านานกว่าพันปี เมืองแพร่สร้างขึ้นในสมัยใดไม่มีหลักฐานจารึกที่แน่นอน ประวัติศาสตร์ของเมืองแพร่จึงต้องใช้หลักฐานอ้างอิงจากจารึกเมืองอื่น เช่น เช่น พงศาวดารโยนก ตำนานเมืองเหนือ ตำนาน การสร้างพระธาตุลำปางหลวง และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นต้นนำข้อมูลจากหลายๆตำนานมาเชื่อมโยงกัน เนื่องจากไม่มีหลักฐาน ที่เกี่ยวข้อง           ตำนานพระธาตุช่อแฮ จารึกไว้ว่า เมืองแพร่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล ในตำนานวัดหลวงจารึกไว้ว่าเมื่อประมาณ พ.ศ.1371 พ่อขุนหลวงพล ราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้า ได้อพยพชาวไทลื้อและชาวไทเขินจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำ ลงมาสร้างเมืองบนที่ราบริมแม่น้ำยม ตั้งชื่อว่า