นครสวรรค์

นครสวรรค์  เป็นเมืองโบราณซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีปรากฏชื่อในศิลาจารึกเรียกว่า  เมืองพระบาง  เป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำศึกสงครามมาทุกสมัย  ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวเมืองดังเดิมตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาขาด (เขาฤาษี)  จรดวัดหัวเมือง (วัดนครสวรรค์) ยังมีเชิงเทินดินเป็นแนวปรากฏอยู่  เมืองพระบาง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น เมืองชอนตะวัน  เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และหันหน้าเมืองไปทางแม่น้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกทำให้แสงอาทิตย์ส่องเข้าหน้าเมืองตลอดเวลา แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น เมืองนครสวรรค์ เป็นศุภนิมิตอันดี

นครสวรรค์  มีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาแต่เดิมว่า  ปากน้ำโพ  โดยปรากฏเรียกกันมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา  ตามประวัติศาสตร์ในคราวที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  กองทัพเรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ยกไปรับทัพข้าศึกที่ ปากน้ำโพ  แต่ต้านทัพข้าศึกไม่ไหว จึงล่าถอยกลับไปที่มาของคำว่า  ปากน้ำโพ  สันนิษฐานได้  ๒  ประการ  คือ  อาจมาจากคำว่า  ปากน้ำโผล่เพราะเป็น ที่ปากน้ำปิง ยม และน่าน  มาโผล่รวมกันเป็น ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา หรืออีกประการหนึ่ง  คือ มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่อยู่ตรงปากน้ำในบริเวณวัดโพธิ์  ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อกวนอูในปัจจุบัน จึงเรียกกันว่า ปากน้ำโพธิ์ ก็อาจเป็นได้ในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้ทรงนำพระพุทธรูปชื่อ พระบาง  มาค้างไว้ที่เมืองนี้ ต่อมาไทยรบทัพจับศึกกับพม่าและปราบหัวเมืองฝ่ายเหนือที่แข็งเมืองยกมาตีกรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงเทพฯ  กองทัพไทยได้ยกเคลื่อนที่ขึ้นมาเลือกนครสวรรค์  (ที่เคยเป็นโรงทหารเก่าหลังโรงเหล้าปัจจุบัน)  เป็นที่ตั้งทัพหลวงแล้วดัดแปลงขุดคูประตูหอรบ  จากตะวันตกตลาดสะพานดำไปบ้านสันคูไปถึงทุ่งสันคูเดี๋ยวนี้ ยังปรากฏแนวคูอยู่ เมื่อข้าศึกยกลงมาจากทุ่งหนองเบน หนองสังข์  สลกบาตร และตะวันออกเฉียงใต้ของลาดยาวมาเหนือทุ่งสันคู  เมื่อฤดูแล้งเป็นที่ดอนขาดน้ำ ถ้าฝนตกน้ำก็หลากเข้ามาอย่างแรงท่วมข้าศึกไทยยกทัพตีตลบหลัง พม่าวิ่งหนีผ่านช่องเขานี้จึงได้ชื่อว่า เขาช่องขาด มาจนบัดนี้

สถานที่ท่องเที่ยว

พาสาน อาคารสัญลักษณ์ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของปากน้ำโพ ตั้งอยู่บริเวณแหลมเกาะยม จุดบรรจบแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์

ชื่อ “พาสาน” มีที่มาจากคำว่า “ผสาน” คือ การรวมกัน แต่ “พาสาน” คือ การพาคนเข้าไปสานให้เกิดการผสมผสานกันระหว่าง คน สถานที่ และสภาพแวดล้อม ตัวอาคารสร้างบนเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ ออกแบบให้มีความโค้งแล้วมาบรรจบกันที่ปลาย เหมือนการรวมตัวกันของแม่น้ำหลักจาก 4 สาย มาประสานกันเป็นสองสายและรวมเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งในช่วงฤดูน้ำหลากส่วนของอาคารที่ยกโค้งจะโผล่พ้นน้ำ นักท่องเที่ยวสามารถพายเรือลอดอาคารชมความงามของสถาปัตยกรรมได้ นอกจาก พาสาน จะเป็นจุดชมวิวและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแล้ว ยังมีสำนักงาน ห้องจัดนิทรรศการประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี การท่องเที่ยว ลานประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิม รวมไปถึงกิจกรรมแสง สี เสียงแสดงถึงวิถีชีวิตผู้คนกับสายน้ำ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกด้วย นักท่องเที่ยว สามารถนั่งเรือข้ามฟากไปฝั่งพาสาน เพื่อชมพระอาทิตย์ตก สัมผัสความงดงามของต้นน้ำเจ้าพระยา วิถีชีวิตของคนริมนํ้าแห่งปากนํ้าโพ นครสวรรค์

แม่เรวา เป็นชื่อลำห้วยที่ไหลเป็นสายยาวผ่านตำบลแม่เล่ย์ เกิดเป็นเกาะแก่งน้อยใหญ่หลายแห่ง สายน้ำสายนี้ก็กลายเป็นที่เที่ยวแนวผจญภัยที่ได้รับความนิยมอย่างมากมาย ภายใต้การดูแลของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ที่ มว.4 (แม่เรวา) แบ่งเส้นทางการล่องแก่งออกเป็น2ช่วง คือช่วงแรกตั้งแต่ต้นน้ำล่องไปจนถึงแก่งลานนกยูง ซึ่งช่วงนี้จะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ส่วนช่วงที่2เริ่มจากบริเวณหน้าด่านตรวจหน่วยพิทักษ์ที่ มว.4ได้แก่รีสอร์ทที่อยู่ริมน้ำ บริการโดยเอกชน ล่องไปจนถึงแก่งเกาะใหญ่ซึ่งเป็นแก่งที่กระแสน้ำเชี่ยวที่สุด รวมระยะทางประมาณ7กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ1 – 1ชั่วโมงครึ่ง ถ้าสนใจที่จะล่องแก่งในช่วงที่2สามารถติดต่อได้ที่กลุ่มล่องแก่งแม่เรวา หรือที่รีสอร์ทที่เข้าพักได้ทุกแห่ง ฤดูการล่องแก่งที่เหมาะสมเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนเป็นต้นไป

เขาหน่อ – เขาแก้ว เป็นกลุ่มยอดเขาหินปูนรูปทรงสวยงามแปลกตา สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนบนถนนพหลโยธิน ช่วงนครสวรรค์ – กำแพงเพชร ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลบ้านแดน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

เขาหน่อ-เขาแก้วเป็นเขาหินปูนที่มีวัดเขาหน่ออยู่เชิงเขามีบันไดขึ้นสู่ถ้ำบนยอดเขาและมีพระพุทธรูปนอนองค์ใหญ่อยู่ปากถ้ำ เมื่อครั้นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จภาคเหนือทางชลมารคสายแม่น้ำปิง เคยประทับพักแรมต่อมาจังหวัดได้สร้างพระบรมรูปไว้เป็นอนุสรณ์ บริเวณเชิงเขามีฝูงลิงจำนวนมากคอยรับอาหารจากนักท่องเที่ยว ที่มาเยือนนอกจากนี้ในเวลาเย็นจะมองเห็นฝูงค้างคาวที่อาศัยอยู่ตามถ้ำน้อยใหญ่ในภูเขาบินออกไปหากินดูเป็นสายยาวสีดำอยู่บนท้องฟ้า

Shops in Nakhon Sawan
shop_img

ร้าน ร้านข้าวแกงอิ่มอร่อย แยกไฟแดงนวมินทร์

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: แยกไฟแดงนวมินทร์
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


Leave a Reply

Related Post

จันทบุรีจันทบุรี

จันทบุรี เป็นเมืองเก่าแก่ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการสำรวจโบราณคดีหลายแห่งในจันทบุรี พบเครื่องมือเครื่องใช้ยุคหินขัด อายุประมาณ 2,000 ปี ในเขตอำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่และที่ราบเชิงเขาที่บ้านคลองบอน อำเภอโป่งน้ำร้อน เริ่มมีการตั้งเมืองครั้งแรก หน้าเขาสระบาป ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ?ชาวชอง? หรือชนเผ่าในตระกูลมอญ-เขมร? เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในป่าฝั่งตะวันออก บริเวณจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อจันทบุรี-ตราด ซึ่งเป็นแหล่งของป่าและสมุนไพรที่อุดมสมบูรณ์ ในสมัยก่อนชาวชองดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าออกมาขาย แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าลดน้อยลงเพราะถูกหักร้างเพื่อทำสวน ทำไร่ ถูกจับจองโดยคนไทยและคนจีน ตลอดจนการเก็บของป่ากลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย พรานป่าอย่างชาวชองจึงต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นแรงงานในเมือง บางส่วนกลายเป็นชาวนาชาวไร่

ชลบุรีชลบุรี

ชลบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย ชุมชนเมืองศูนย์กลางของจังหวัด คือ เทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ โดยมีเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ คือ เมืองพัทยา นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก ทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดต่อ (ตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทิศเหนือ) ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และติดต่อกับอ่าวไทยทางทิศตะวันตก ประชากรของจังหวัดมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยประชากรในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน

ระยองระยอง

ระยอง เริ่มปรากฎชื่อในพงศาวดารเมื่อปี พ.ศ.2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีประวัติดั้งเดิมตามข้อสันนิษฐานว่า น่าจะก่อตั้งเมืองขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1500 ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่พบ คือ ซากศิลาแลงคูค่าย ที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม โดยในสมัยโบราณ ระยองมีชนพื้นเมืองคือชาวซอง ซึ่งเป็นเผ่าที่อาศัยอยู่กระจายโดยทั่วไปในภาคตะวันออก ในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเมืองระยองในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ในเดือนยี่ปี พ.ศ.2309 พระยาวชิรปราการ หรือ พระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ 500 คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า