นครสวรรค์

นครสวรรค์  เป็นเมืองโบราณซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีปรากฏชื่อในศิลาจารึกเรียกว่า  เมืองพระบาง  เป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำศึกสงครามมาทุกสมัย  ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวเมืองดังเดิมตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาขาด (เขาฤาษี)  จรดวัดหัวเมือง (วัดนครสวรรค์) ยังมีเชิงเทินดินเป็นแนวปรากฏอยู่  เมืองพระบาง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น เมืองชอนตะวัน  เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และหันหน้าเมืองไปทางแม่น้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกทำให้แสงอาทิตย์ส่องเข้าหน้าเมืองตลอดเวลา แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น เมืองนครสวรรค์ เป็นศุภนิมิตอันดี

นครสวรรค์  มีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาแต่เดิมว่า  ปากน้ำโพ  โดยปรากฏเรียกกันมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา  ตามประวัติศาสตร์ในคราวที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  กองทัพเรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ยกไปรับทัพข้าศึกที่ ปากน้ำโพ  แต่ต้านทัพข้าศึกไม่ไหว จึงล่าถอยกลับไปที่มาของคำว่า  ปากน้ำโพ  สันนิษฐานได้  ๒  ประการ  คือ  อาจมาจากคำว่า  ปากน้ำโผล่เพราะเป็น ที่ปากน้ำปิง ยม และน่าน  มาโผล่รวมกันเป็น ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา หรืออีกประการหนึ่ง  คือ มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่อยู่ตรงปากน้ำในบริเวณวัดโพธิ์  ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อกวนอูในปัจจุบัน จึงเรียกกันว่า ปากน้ำโพธิ์ ก็อาจเป็นได้ในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้ทรงนำพระพุทธรูปชื่อ พระบาง  มาค้างไว้ที่เมืองนี้ ต่อมาไทยรบทัพจับศึกกับพม่าและปราบหัวเมืองฝ่ายเหนือที่แข็งเมืองยกมาตีกรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงเทพฯ  กองทัพไทยได้ยกเคลื่อนที่ขึ้นมาเลือกนครสวรรค์  (ที่เคยเป็นโรงทหารเก่าหลังโรงเหล้าปัจจุบัน)  เป็นที่ตั้งทัพหลวงแล้วดัดแปลงขุดคูประตูหอรบ  จากตะวันตกตลาดสะพานดำไปบ้านสันคูไปถึงทุ่งสันคูเดี๋ยวนี้ ยังปรากฏแนวคูอยู่ เมื่อข้าศึกยกลงมาจากทุ่งหนองเบน หนองสังข์  สลกบาตร และตะวันออกเฉียงใต้ของลาดยาวมาเหนือทุ่งสันคู  เมื่อฤดูแล้งเป็นที่ดอนขาดน้ำ ถ้าฝนตกน้ำก็หลากเข้ามาอย่างแรงท่วมข้าศึกไทยยกทัพตีตลบหลัง พม่าวิ่งหนีผ่านช่องเขานี้จึงได้ชื่อว่า เขาช่องขาด มาจนบัดนี้

สถานที่ท่องเที่ยว

พาสาน อาคารสัญลักษณ์ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของปากน้ำโพ ตั้งอยู่บริเวณแหลมเกาะยม จุดบรรจบแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์

ชื่อ “พาสาน” มีที่มาจากคำว่า “ผสาน” คือ การรวมกัน แต่ “พาสาน” คือ การพาคนเข้าไปสานให้เกิดการผสมผสานกันระหว่าง คน สถานที่ และสภาพแวดล้อม ตัวอาคารสร้างบนเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ ออกแบบให้มีความโค้งแล้วมาบรรจบกันที่ปลาย เหมือนการรวมตัวกันของแม่น้ำหลักจาก 4 สาย มาประสานกันเป็นสองสายและรวมเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งในช่วงฤดูน้ำหลากส่วนของอาคารที่ยกโค้งจะโผล่พ้นน้ำ นักท่องเที่ยวสามารถพายเรือลอดอาคารชมความงามของสถาปัตยกรรมได้ นอกจาก พาสาน จะเป็นจุดชมวิวและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแล้ว ยังมีสำนักงาน ห้องจัดนิทรรศการประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี การท่องเที่ยว ลานประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิม รวมไปถึงกิจกรรมแสง สี เสียงแสดงถึงวิถีชีวิตผู้คนกับสายน้ำ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกด้วย นักท่องเที่ยว สามารถนั่งเรือข้ามฟากไปฝั่งพาสาน เพื่อชมพระอาทิตย์ตก สัมผัสความงดงามของต้นน้ำเจ้าพระยา วิถีชีวิตของคนริมนํ้าแห่งปากนํ้าโพ นครสวรรค์

แม่เรวา เป็นชื่อลำห้วยที่ไหลเป็นสายยาวผ่านตำบลแม่เล่ย์ เกิดเป็นเกาะแก่งน้อยใหญ่หลายแห่ง สายน้ำสายนี้ก็กลายเป็นที่เที่ยวแนวผจญภัยที่ได้รับความนิยมอย่างมากมาย ภายใต้การดูแลของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ที่ มว.4 (แม่เรวา) แบ่งเส้นทางการล่องแก่งออกเป็น2ช่วง คือช่วงแรกตั้งแต่ต้นน้ำล่องไปจนถึงแก่งลานนกยูง ซึ่งช่วงนี้จะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ส่วนช่วงที่2เริ่มจากบริเวณหน้าด่านตรวจหน่วยพิทักษ์ที่ มว.4ได้แก่รีสอร์ทที่อยู่ริมน้ำ บริการโดยเอกชน ล่องไปจนถึงแก่งเกาะใหญ่ซึ่งเป็นแก่งที่กระแสน้ำเชี่ยวที่สุด รวมระยะทางประมาณ7กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ1 – 1ชั่วโมงครึ่ง ถ้าสนใจที่จะล่องแก่งในช่วงที่2สามารถติดต่อได้ที่กลุ่มล่องแก่งแม่เรวา หรือที่รีสอร์ทที่เข้าพักได้ทุกแห่ง ฤดูการล่องแก่งที่เหมาะสมเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนเป็นต้นไป

เขาหน่อ – เขาแก้ว เป็นกลุ่มยอดเขาหินปูนรูปทรงสวยงามแปลกตา สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนบนถนนพหลโยธิน ช่วงนครสวรรค์ – กำแพงเพชร ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลบ้านแดน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

เขาหน่อ-เขาแก้วเป็นเขาหินปูนที่มีวัดเขาหน่ออยู่เชิงเขามีบันไดขึ้นสู่ถ้ำบนยอดเขาและมีพระพุทธรูปนอนองค์ใหญ่อยู่ปากถ้ำ เมื่อครั้นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จภาคเหนือทางชลมารคสายแม่น้ำปิง เคยประทับพักแรมต่อมาจังหวัดได้สร้างพระบรมรูปไว้เป็นอนุสรณ์ บริเวณเชิงเขามีฝูงลิงจำนวนมากคอยรับอาหารจากนักท่องเที่ยว ที่มาเยือนนอกจากนี้ในเวลาเย็นจะมองเห็นฝูงค้างคาวที่อาศัยอยู่ตามถ้ำน้อยใหญ่ในภูเขาบินออกไปหากินดูเป็นสายยาวสีดำอยู่บนท้องฟ้า

Shops in Nakhon Sawan
shop_img

ร้าน ร้านข้าวแกงอิ่มอร่อย แยกไฟแดงนวมินทร์

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: แยกไฟแดงนวมินทร์
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


Leave a Reply

Related Post

ชลบุรีชลบุรี

ชลบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย ชุมชนเมืองศูนย์กลางของจังหวัด คือ เทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ โดยมีเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ คือ เมืองพัทยา นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก ทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดต่อ (ตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทิศเหนือ) ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และติดต่อกับอ่าวไทยทางทิศตะวันตก ประชากรของจังหวัดมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยประชากรในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน

ฉะเชิงเทราฉะเชิงเทรา

จังหวัด ฉะเชิงเทราหรือที่นิยมเรียกกันว่า “แปดริ้ว” เคยเป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมมาก่อนในสมัยอิทธิพลของ อาณาจักรลพบุรี (ขอม) เมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เป็นไปได้ว่าชาวเมืองสมัยโบราณอาจจะเรียกชื่อแม่น้ำบางปะกงว่า คลองลึกหรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็นแต่ด้วยอิทธิพลเขมรจึงได้เรียกชื่อแม่น้ำ เป็นภาษาเขมรว่า “สตึงเตรง หรือ ฉทรึงเทรา” ซึ่งแปลว่า คลองลึก นั่นเอง ครั้นเรียกกันไปนาน ๆ เสียงเลยเพี้ยนกลายเป็น “ฉะเชิงเทรา” แต่ก็มีความเห็นอื่นที่แตกต่างออกไปว่าชื่อ “ฉะเชิงเทรา” น่าจะเพี้ยนมาจาก “แสงเชรา” หรือ “แซงเซา” หรือ “แสงเซา” อันเป็นชื่อเมืองที่สมเด็จพระบรมราชาธิราช

กาญจนบุรีกาญจนบุรี

กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม่า ความเป็นมาของกาญจนบุรีเท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก[3] สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม[3] สมัยบายน กาญจนบุรียังปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำสงครามระหว่างกองทัพไทยกับพม่า จนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ เดิมตัวเมืองกาญจนบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า (บริเวณเขาชนไก่ในปัจจุบัน) ภายหลังจนถึง พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่