จันทบุรี

จันทบุรี เป็นเมืองเก่าแก่ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการสำรวจโบราณคดีหลายแห่งในจันทบุรี พบเครื่องมือเครื่องใช้ยุคหินขัด อายุประมาณ 2,000 ปี ในเขตอำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่และที่ราบเชิงเขาที่บ้านคลองบอน อำเภอโป่งน้ำร้อน

เริ่มมีการตั้งเมืองครั้งแรก หน้าเขาสระบาป ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ?ชาวชอง? หรือชนเผ่าในตระกูลมอญ-เขมร? เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในป่าฝั่งตะวันออก บริเวณจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อจันทบุรี-ตราด ซึ่งเป็นแหล่งของป่าและสมุนไพรที่อุดมสมบูรณ์ ในสมัยก่อนชาวชองดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าออกมาขาย แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าลดน้อยลงเพราะถูกหักร้างเพื่อทำสวน ทำไร่ ถูกจับจองโดยคนไทยและคนจีน ตลอดจนการเก็บของป่ากลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย พรานป่าอย่างชาวชองจึงต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นแรงงานในเมือง บางส่วนกลายเป็นชาวนาชาวไร่ ชุมชนของชาวชองในปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นบริเวณบ้านคลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ

ปี พ.ศ. 2200 ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่ม ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรีและหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกำลังพลประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมาทางทิศตะวันออกและยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นเวลา 5 เดือน เพื่อเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและไพร่พล จากนั้นจึงนำกองทัพทั้งชาวไทยและชาวจีนจำนวน 5,000 คน กลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา

เหตุการณ์ดังกล่าว เป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากโบราณสถาน และอนุสรณ์สถานหลายแห่งที่ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในครั้งนั้น

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านเนินวง เนื่องจากเป็นที่สูงมีชัยภูมิเหมาะเป็นที่มั่น ในการป้องกันการรุกรานของพวกญวน จนกระทั่งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองจันทบุรีได้ย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านลุ่มตามเดิม เนื่องจากบริเวณบ้านเนินวงอยู่ไกลจากแหล่งน้ำ

ในปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองเมืองจันทบุรีไว้เป็นเวลานานถึง 11 ปี จนไทยต้องยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเมืองจันทบุรีกลับคืนมา ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดตั้งระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ เมืองจันทบุรีได้ยกฐานะเป็นจังหวัดจันทบุรีมาจนถึงปัจจุบัน จันทบุรีจึงเป็นเมืองชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ทั้งในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์จวบจนทุกวันนี้

สถานที่ท่องเที่ยว

ลานหินสีชมพู เป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งใหม่ ตั้งอยู่ภายในบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์คุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี สามารถเดินชมได้ในช่วงตอนกลางวันจะมองเห็นเป็นลานหินสีชมพูอมม่วง – นำ้ตาลแดง เปิดให้นักท่องเที่ยวและประชาชนเข้ามาท่องเที่ยวและศึกษาเส้นทางเดินชมธรรมชาติ ระยะทาง 1000 เมตร โดยใช้ระยะเวลาในการเดิน 1 ชั่วโมง 30 นาที เมื่อถึงจุดลานหินสีชมพูก็สามารถมองเห็นเกา่ะต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ได้อย่างสาวยงาม

นักท่องเที่ยวได้เดินชมวิวสวยๆ บนสะพานไม้ที่ทอดยาวท่ามกลางน้ำทะเล ระยะทางประมาณ 50 เมตร เป็นสะพานที่สร้างขึ้นจากพลังศรัทธาของชาวบ้าน เป็นทางเดินเพื่อสักการะ “เจดีย์บ้านหัวแหลม” ( แต่สะพานไม้ยาวไม่ถึงเจดีย์ จะสามารถเดินถึงก็ต่อเมื่อน้ำลดลง)

มีเจดีย์ตั้งอยุ่บนโขดหิน ทอดยาวออกไปในทะเล ประมาณ 50 เมตร ในสมัยก่อน การจะเข้าไปนมัสการหรือชมวิว ต้องนั่งเรือหรือลุยน้ำทะเล ไป หรือต้องรอช่วงน้ำลงถึงจะปรากฏทางเดิน ซึ่งปัจจุบันได้มีการสร้างสะพานไม้เพื่อเป็นทางเดินไปนมัสการและ สร้างแหล่งท่องเที่ยวแหล่งใหม่ ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นอย่างดี และได้รับคำชมจากนักท่องเที่ยวที่ได้มาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก และสามารถมากราบไหว้ขอพรเจดีย์กลางน้ำอายุกว่า 200 ปี เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว พร้อมชมบรรยากาศท้องทะเลที่สวยงามและชมวิถีชีวิตชาวประมงของหมู่บ้านหัวแหลมซึ่งชาวบ้านส่วนมากมีอาชีพประมงแบบใกล้ชิด

จิตรกรรมในโบสถ์หลังเก่า วัดจันทบุรี อำเภอเสาไห้ โดดเด่นด้วยภาพสะท้อนวิถีชีวิตของชาวไทยวน ทั้งภาพเขียนและตัวอาคารเป็นแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ภาพเขียนจิตรกรรมฝาหนังภายในโบสถ์เก่าแก่อายุกว่า 100 ปี ที่วัดเนินสูง จ.จันทบุรี ที่เขียนถึงตัวละครเรื่องทศชาติชาดก และวิถีชีวิตของคนในสมัยโบราณภายในโบสถ์เก่าแก่วัดเนินสูง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ที่เขียนโดยฝีมือช่างจากจังหวัดจันทบุรี ปัจจุบัน เริ่มหาชมได้ยากและเริ่มที่จะเลือนหายไป แต่ทางวัดเนินสูงยังคงอนุรักษ์ และเก็บรักษาไว้เพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ตลอดจนนักท่องเที่ยวได้เข้าศึกษาเรียนรู้ และท่องเที่ยวถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก

Shops in Chanthaburi

Leave a Reply

Related Post

น่านน่าน

“แข่งเรือลือเลื่องเมืองงาช้างดำจิตรกรรมวัดภูมินทร์แดนดินส้มสีทเรืองรองพระธาตุแช่แห้ง” จากหลักฐานทางโบราณคดี การขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีภูซางและแหล่งโบราณคดีในเขตลำน้ำซาว พบหลักฐานเครื่องมือหินซึ่งกำหนดอายุได้ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องมาในช่วงสมัยประวัติศาสตร์ โดยพบการใช้เครื่องมือหินอยู่ในชั้นหลักฐานเดียวกันกับเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาเผาโบราณบ่อสวก เมื่อราว ๗๐๐ – ๘๐๐ ปีมาแล้ว ทำให้เชื่อได้ว่า จังหวัดน่านน่าจะเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ ซึ่งทำให้มีการอยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงประวัติศาสตร์ตอนต้นของเมืองน่าน ปรากฏเป็นหลักฐานจากพื้นเมืองหรือพงศาวดาร ซึ่งได้เล่าเป็นตำนานหรือนิทานเกี่ยวกับกษัตริย์น่าน คือ ขุนนุ่น ขุนฟอง กล่าวคือ บริเวณ ลุ่มลำน้ำย่าง มีเมืองย่าง ซึ่งปกครองโดย พระญาพูคา พระญาพูคาได้พบไข่สองใบ และต่อมาได้กำเนิดเป็นพี่น้องสองคน คือ ขุนนุ่น

ระยองระยอง

ระยอง เริ่มปรากฎชื่อในพงศาวดารเมื่อปี พ.ศ.2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีประวัติดั้งเดิมตามข้อสันนิษฐานว่า น่าจะก่อตั้งเมืองขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1500 ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่พบ คือ ซากศิลาแลงคูค่าย ที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม โดยในสมัยโบราณ ระยองมีชนพื้นเมืองคือชาวซอง ซึ่งเป็นเผ่าที่อาศัยอยู่กระจายโดยทั่วไปในภาคตะวันออก ในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเมืองระยองในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ในเดือนยี่ปี พ.ศ.2309 พระยาวชิรปราการ หรือ พระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ 500 คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า

สมุทรปราการสมุทรปราการ

“สมุทรปราการ” เป็นเมืองที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ เนื่องจากที่ตั้งเป็นเขตยุทธศาสตร์ทางน้ำ คำว่า “สมุทรปราการ” มาจาก คำว่า “สมุทร” ซึ่งแปลว่าทะเล และ “ปราการ” ที่แปลว่า กำแพง จึงมีความหมายโดยรวมว่า “กำแพงริมน้ำ” และหากย้อนหลังไป 800 ปีเศษ ชนชาติขอมซึ่งมีความรุ่งเรืองอยู่ ในขณะนั้นได้สร้างเมืองพระประแดงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านซึ่งสันนิษฐานว่า  ในปัจจุบันคือบริเวณท่าเรือคลองเตย และต่อมาแผ่นดินบริเวณรอบเมืองพระประแดงนั้นได้งอกออกไปในทะเลโดยทิศใต้แผ่นดินงอกถึงแถบตำบลปากคลองบางปลากดซึ่งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา และทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาแผ่นดินได้งอกถึงบริเวณตำบลบางด้วน บางหมู และบางนางเกรง ทำให้เมืองพระประแดงมีความสำคัญลดลง เนื่องจากอยู่ห่างจากบริเวณปากแม่น้ำ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2163 –