ตราด

ตราด เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา

สถานที่ท่องเที่ยว

ตั้งอยู่บนถนนหลักเมือง ใกล้วัดโยธานิมิตร ศาลนี้มีลักษณะแปลกจากศาลหลักเมืองอื่นๆ คือ ตัวอาคารก่อสร้างในลักษณะเป็นเก๋งจีน ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราดเป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านเมืองของชาวตราด เป็นศูนย์รวมจิตใจของทั้งคนไทยและคนจีน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อหลักเมืองตราด มีตำนานเล่าขานว่า เมื่อครั้งฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองตราดนั้น ทหารฝรั่งเศสสังเกตเห็นว่าประชาชนชาวเมืองตราดต่างพากันเคารพกราบไหว้สักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแห่งนี้กันมาก จึงต้องการทำลายขวัญและกำลังใจของประชาชน โดยสั่งให้ถอนเสาหลักเมืองนี้ไปทิ้งโดยให้คนไปขุด แต่ถอนเสาหลักเมืองไม่ขึ้น ครั้นนำช้างมาดึงเสาออก ปรากฏว่าช้างเหล่ากลับตกหล่มตายกันหมด ส่วนคนควบคุมการดึงเสาหลักเมืองคอหักตาย ด้วยปาฏิหาริย์ของเจ้าพ่อหลักเมืองทำให้ไม่สามารถถอนเสาหลักเมืองขึ้นมาได้ จึงมีการสั่งให้เผาศาลทิ้ง ปรากฏมีฟ้าผ่าและฝนตกลงมาอย่างหนัก จะด้วยความเกรงกลัวหรือเหตุใดไม่ทราบ นายทหารฝรั่งเศสที่ควบคุมกำลังมาจึงได้สร้างเสาหลักเมืองเพิ่มขึ้นอีก 1 ต้น จึงเป็นที่มาที่ศาล แห่งนี้มีเสาหลักเมือง 2 ต้น ตั้งแต่นั้นต่อมาพวกฝรั่งเศสก็ไม่กล้ายุ่งกับศาลเจ้าแห่งนี้อีก นอกจากนี้หากผู้ใดลบหลู่ก็มีอันเป็นไปทุกราย ศาลหลักเมืองเป็นดั่งศูนย์กลางเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี มีงานฉลองที่เรียกว่า “วันงานพลีเมือง” หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “วันเซี่ยกงแซยิด” หมายถึง วันเกิดเจ้าพ่อหลักเมืองมีพิธีทำบุญตักบาตรแบบไทย และมีงานประจำปีศาล ปุงเถ้าม้าแบบจีน ช่วงก่อน และหลังตรุษจีน 1 เดือน

ตั้งอยู่ที่ถนนสันติสุข อำเภอเมือง จังหวัดตราด พิพิธภัณฑสถานประจำเมืองแห่งนี้ใช้อาคารศาลากลาง จังหวัดหลังเดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตเมืองตราด รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ส่งเสริม เผยแพร่มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรม

ภายในห้องนิทรรศการประกอบด้วย 6 หัวข้อ ได้แก่ 1) มรดกธรรมชาติและวัฒนธรรมแห่งตราด ห้องแรกมรดกธรรมชาติและวัฒนธรรม 2) ผู้คนเมืองตราด จัดแสดงเรื่องภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ 3) ลำดับทางโบราณตดีและประวัติศาสตร์เมืองตราด จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดนับแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และต้นสมัยประวัติศาสตร์ สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ ช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 4) เหตุการณ์สำคัญในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุการณ์สำคัญในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิ การพระราชทานพระแสงราชศาสตราประจำเมือง การเสด็จประพาสเมืองตราด ฯลฯ 5) เหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง เหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง จัดแสดงเรื่องราวตามลำดับเหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง รูปแบบเรือรบของทางไทยและฝรั่งเศส บรรยากาศตลาดเมืองตราด 6) ตลาดเมืองตราด บรรยากาศตลาดเมืองตราด จัดแสดงเรื่องราวการค้าในตลาดเก่าวันวานและสภาพปัจจุบัน นอกเหนือจากนิทรรศการ อาคารของพิพิธภัณฑ์ฯ ยังมีความโดดเด่นชวนศึกษาโดยได้รักษาสถาปัตยกรรมรูปแบบเดิมที่สร้างขึ้นนับแต่พุทธศักราช 2465 ไว้ ลักษณะอาคารเป็นเรือนไม้ เสาปูน ยกพื้นใต้ถุนสูง หลังคาทรงปั้นหยา

Shops in Trat

Leave a Reply

Related Post

ชลบุรีชลบุรี

ชลบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย ชุมชนเมืองศูนย์กลางของจังหวัด คือ เทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ โดยมีเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ คือ เมืองพัทยา นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก ทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดต่อ (ตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทิศเหนือ) ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และติดต่อกับอ่าวไทยทางทิศตะวันตก ประชากรของจังหวัดมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยประชากรในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน

อยุธยาอยุธยา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอดีตราชธานีของไทยมีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะ ตำนานพงศาวดาร ไปจนถึงหลักศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งเมืองอโยธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง และมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครองบ้านเมือง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส พระอัยการลักษณะกู้หนี้สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และ

ภูเก็ตภูเก็ต

ภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า “ภูเขา” ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า “บูเก๊ะ” หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ