ฉะเชิงเทรา

จังหวัด ฉะเชิงเทราหรือที่นิยมเรียกกันว่า “แปดริ้ว” เคยเป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมมาก่อนในสมัยอิทธิพลของ อาณาจักรลพบุรี (ขอม) เมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เป็นไปได้ว่าชาวเมืองสมัยโบราณอาจจะเรียกชื่อแม่น้ำบางปะกงว่า คลองลึกหรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็นแต่ด้วยอิทธิพลเขมรจึงได้เรียกชื่อแม่น้ำ เป็นภาษาเขมรว่า “สตึงเตรง หรือ ฉทรึงเทรา” ซึ่งแปลว่า คลองลึก นั่นเอง ครั้นเรียกกันไปนาน ๆ เสียงเลยเพี้ยนกลายเป็น “ฉะเชิงเทรา” แต่ก็มีความเห็นอื่นที่แตกต่างออกไปว่าชื่อ “ฉะเชิงเทรา” น่าจะเพี้ยนมาจาก “แสงเชรา” หรือ “แซงเซา” หรือ “แสงเซา” อันเป็นชื่อเมืองที่สมเด็จพระบรมราชาธิราช เสด็จไปตีได้ตามที่พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวไว้ มากกว่า ส่วนความเป็นมาของชื่อ “แปดริ้ว” ก็มีเล่าขานกันมาหลายกระแส บ้างก็ว่าที่ได้ชื่อว่าเมืองแปดริ้ว ก็เพราะขนาดอันใหญ่โตของปลาช่อนที่ชุกชุมเมื่อนำมาแล่ จะต้องแล่ถึงแปดริ้ว หรือไม่ก็ว่ามาจากนิทานพื้นบ้านเรื่อง “พระรถเมรี” เล่าว่ายักษ์ฆ่านางสิบสองแล้วชำแหละศพออกเป็นชิ้น ๆ รวมแปดริ้ว ทิ้งลอยไปตามลำน้ำท่าลาดสำหรับข้อสันนิษฐานการตั้งเมืองฉะเชิงเทรา ปรากฏครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในฐานะหัวเมืองชั้นในหรือเมืองจัตวา ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑) แต่สำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปรากฏชัดเจนในสมัยพระนเรศวรมหาราชที่ใช้ เมืองฉะเชิงเทราเป็นที่รวบรวมไพร่พล เมื่อ พ.ศ.๒๑๓๖ ด้วยชัยภูมิของเมืองที่เหมาะแก่การทำสงครามกองโจร ทำให้ฉะเชิงเทราเป็นเมืองหน้าด่านที่ใช้ป้องกันศัตรู ปกป้องเมืองหลวง จวบจนสู่การปกครองระบบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.๒๔๗๕ และในปี พ.ศ.๒๔๗๖ มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาค คำว่าเมืองเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ครองเมือง หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ซึ่งเป็นปีที่มีการตั้งภาคครั้งสุดท้ายของไทย ฉะเชิงเทราได้รับเลือกเป็นสถานที่ภาคมีเขตความรับผิดชอบ ๘ จังหวัด ซึ่งนับเป็นบทบาทที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การปกครองของจังหวัดฉะเชิงเทรา

“ฉะเชิงเทรา” กับ “แปดริ้ว” คือสองชื่อที่เรียกขานเมืองนี้ “ฉะเชิงเทรา” เป็นชื่อที่ใช้ในทางราชการ ส่วน “แปดริ้ว” เป็นภาษาท้องถิ่นที่ชาวบ้านใช้เรียกกันมาช้านาน ซึ่งทั้งสองชื่อต่างก็มีเรื่องเล่าขานถึงความเป็นมาอย่างหลากหลายและมีสีสัน ชื่อ “ฉะเชิงเทรา” มีต้นเค้านึ่งมาจากหนังสือชุมนุมพระนิพนธ์ภาคปกิณกะ ภาค 1 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีความพาดพิงถึงเมืองฉะเชิงเทราว่า “…ชื่อบ้านเมืองเหล่านี้เป็นชื่อไทยบ้าง ชื่อเขมรบ้าง เป็นสองชื่อทั้งไทยทั้งเขมรบ้าง อย่างเมืองฉะเชิงเทราเป็นชื่อเขมร แปดริ้วเป็นชื่อไทย…” นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบางท่านจึงมีความเห็นว่า “ฉะเชิงเทรา” น่าจะเพี้ยนมาจากคำเขมรว่า “สตึงเตรง” หรือ “ฉ่ทรึงเทรา” ซึ่งแปลว่า “คลองลึก” ความเห็นนี้คงอาศัยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ด้วย เพราะเมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เมื่อครั้งที่ขอมยังมีอำนาจปกครองแผ่นดินไทยอยู่นั้น เมืองนี้เป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอำนาจการปกครองขิงขอมมาก่อน เป็นไปได้ว่าชาวเมืองในสมัยโบราณอาจจะเรียกแม่น้ำบางปะกงว่า “คลองลึก” หรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็น และด้วยอิทธิพลเขมรจึงไดเรียกชื่อแม่น้ำเป็นภาษาเขมรว่า “สตรึงเตรง” หรือ “ฉ่ทรึงเทรา” ครั้งเรียกกันไปนานๆ เสียงก็เพี้ยนกลายเป็น “ฉะเชิงเทรา” เมืองที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำก็พลอยได้ชื่อว่า “ฉะเชิงเทรา” ไปด้วย อย่างไร ก็ตาม คนจำนวนมากมักมีความเห็นต่างอกไปว่า ชื่อ “ฉะเชิงเทรา” น่าจะเพี้ยนจาก “แสงเชรา” หรือ “แซงเซา” หรือ “แสงเซา” อันเป็นชื่อเมืองที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จไปตีได้ ตามที่พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวไว้มากกว่า เพราะการออกเสียงใกล้เคียงกันมาก ยิ่งเมื่อประกอบความคิดที่ว่า เมืองตั้งขึ้นในตอนต้นกรุงศรีอยุธยา อันเป็นเวลาที่ชื่อเสียงเรียงนามต่างๆ น่าจะเป็นคำไทยหมดแล้ว โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน อย่างนนทบุรี นครไชยศรีและสาครบุรี ซึ่งล้วนแต่มีเชื้อสายไทยอิทธิพลอินเดีย ยิ่งทำให้น่าเชื่อว่าเมืองนี้ไม่ใช่คำเขมร หากแต่เป็นคำไทยที่เพี้ยนมาขากชื่อเมืองในพงศาวดารนี่เอง

สถานที่ท่องเที่ยว

เมื่อไทยเกิดบาดหมางกับญวน มีการสู้รบกันในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และภายหลังญวนได้ตกไปเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสจึงทำให้ไทยเล็งเห็นถึงภัยที่จะมาจากเรือต่างชาติ พระองค์จึงรับสั่งให้สร้างป้อมขึ้นที่เมืองฉะเชิงเทราพร้อมกับเมืองอื่นๆ อีกหลายเมืองในปี พ.ศ. 2377 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ (พระองค์เจ้าไกรสร) เป็นแม่กองก่อสร้างป้อมและกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา ด้วยเหตุนี้เมืองฉะเชิงเทราจึงปรากฏหลักฐานเป็นเมืองคล้ายเมืองสมัยใหม่คือมีป้อมป้องกันแบบเมืองสมัยใหม่เพื่อทานแรงจากการยิงของปืนเรือศัตรูที่มาทางเรือ นอกจากนั้นแล้ว ประวัติศาสตร์ยังได้บันทึกไว้อีกว่ากำแพงและตัวเมืองฉะเชิงเทรา เคยถูกคณะอั้งยี่บุกเข้ายึดครองในสมัยพระยาวิเศษฤาชัย (บัว) ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งต่อมาอั้งยี่ได้ถูกกองทัพหลวงซึ่งมีเจ้าพระยาพระคลังและเจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นแม่ทัพปราบลงได้
กรมศิลปากรได้เห็นถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ จึงประกาศให้ป้อมกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา เป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2497 แสดงให้เห็นว่าเมืองนี้เป็นเมืองหน้าด่านที่มีความสำคัญถึงขนาดต้องสร้าง

ตั้งอยู่ในเขตตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และเทศบาลตำบลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ในอดีตคลองสวนเป็นเส้นทางทางน้ำสำหรับเดินทางไปกรุงเทพฯ จากประตูน้ำท่าถั่ว จังหวัดฉะเชิงเทรา แล่นผ่านตลาดคลองสวน เข้าสู่ประตูน้ำวังสระปทุม กรุงเทพฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิถีชีวิตของชาวคลองสวนทั้งชาวไทยจีน ไทยมุสลิม ไทยพุทธ วัฒนธรรมผสมผสานการดำรงชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข นักท่องเที่ยวจะได้ชื่นชมกับบรรยากาศของวิถีชีวิตร่วมสมัยอายุนับ 100 ปี ชวนชิมอาหารอร่อย ขนมหวาน และกาแฟสูตรโบราณรสอร่อย

ท่องเที่ยววิถีศรัทธาเมืองแปดริ้ว…สักการะมหาเทพแห่งลุ่มแม่น้ำบางปะกง

อุทยานพระพิฆเนศคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสถานที่ประดิษฐานองค์พระพิฆเนศ ปางประทับยืน เนื้อสำริด (Bronze) ขนาดความสูง 39 เมตร ท่ามกลางพื้นที่ธรรมชาติทางการเกษตรของชาวบ้านบริเวณนั้น เพื่อรองรับวิถีศรัทธาที่เข้ามาสักการะบูชา กราบไหว้ ขอพรองค์พระพิฆเนศ

รูปแบบประติมากรรมมีองค์ประกอบที่โดดเด่นคือ พระหัตถ์ทั้ง 4 ถือพืชพรรณธัญญาหาร ดังนี้ 1.กล้วย 2.ยอดอ้อย 3.ขนุน 4.มะม่วง และที่พระบาทมีหนูกอดลูกมะพร้าว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนความอุดมสมบูรณ์ผืนดินถิ่นน้ำของเมืองแปดริ้ว โดยเฉพาะเป็นแหล่งปลูกมะม่วงพันธ์ุดีที่สุดของประเทศองค์พระพิฆเนศและสถานที่แห่งนี้ดำเนินการจัดสร้างโดยสมาคมชาวฉะเชิงเทรา นำโดย พลตำรวจเอก สมชาย วาณิชเสนี

 นายกสมาคมชาวฉะเชิงเทรา ในขณะนั้น เริ่มจัดสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา โดยวิธีการหล่อชิ้นส่วนองค์พระพิฆเนศ จำนวน 854 ชิ้น นำมาประกอบกันผ่านการประกอบพิธีกรรมที่ถูกต้องตามขบวนการและตามฤกษ์มงคลที่ประณีตบรรจง ซึ่งใช้เวลานานจนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์

Shops in Chachoengsao
shop_img

ร้าน นายทองเอก

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: บ้านใหญ่-บางปรง
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


Leave a Reply

Related Post

ชลบุรีชลบุรี

ชลบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย ชุมชนเมืองศูนย์กลางของจังหวัด คือ เทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ โดยมีเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ คือ เมืองพัทยา นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก ทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดต่อ (ตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทิศเหนือ) ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และติดต่อกับอ่าวไทยทางทิศตะวันตก ประชากรของจังหวัดมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยประชากรในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน

ตราดตราด

ตราด เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยว ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราด ตั้งอยู่บนถนนหลักเมือง ใกล้วัดโยธานิมิตร ศาลนี้มีลักษณะแปลกจากศาลหลักเมืองอื่นๆ คือ ตัวอาคารก่อสร้างในลักษณะเป็นเก๋งจีน ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราดเป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านเมืองของชาวตราด เป็นศูนย์รวมจิตใจของทั้งคนไทยและคนจีน

จันทบุรีจันทบุรี

จันทบุรี เป็นเมืองเก่าแก่ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการสำรวจโบราณคดีหลายแห่งในจันทบุรี พบเครื่องมือเครื่องใช้ยุคหินขัด อายุประมาณ 2,000 ปี ในเขตอำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่และที่ราบเชิงเขาที่บ้านคลองบอน อำเภอโป่งน้ำร้อน เริ่มมีการตั้งเมืองครั้งแรก หน้าเขาสระบาป ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ?ชาวชอง? หรือชนเผ่าในตระกูลมอญ-เขมร? เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในป่าฝั่งตะวันออก บริเวณจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อจันทบุรี-ตราด ซึ่งเป็นแหล่งของป่าและสมุนไพรที่อุดมสมบูรณ์ ในสมัยก่อนชาวชองดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าออกมาขาย แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าลดน้อยลงเพราะถูกหักร้างเพื่อทำสวน ทำไร่ ถูกจับจองโดยคนไทยและคนจีน ตลอดจนการเก็บของป่ากลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย พรานป่าอย่างชาวชองจึงต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นแรงงานในเมือง บางส่วนกลายเป็นชาวนาชาวไร่