จันทบุรี

จันทบุรี เป็นเมืองเก่าแก่ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการสำรวจโบราณคดีหลายแห่งในจันทบุรี พบเครื่องมือเครื่องใช้ยุคหินขัด อายุประมาณ 2,000 ปี ในเขตอำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่และที่ราบเชิงเขาที่บ้านคลองบอน อำเภอโป่งน้ำร้อน

เริ่มมีการตั้งเมืองครั้งแรก หน้าเขาสระบาป ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ?ชาวชอง? หรือชนเผ่าในตระกูลมอญ-เขมร? เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในป่าฝั่งตะวันออก บริเวณจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อจันทบุรี-ตราด ซึ่งเป็นแหล่งของป่าและสมุนไพรที่อุดมสมบูรณ์ ในสมัยก่อนชาวชองดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าออกมาขาย แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าลดน้อยลงเพราะถูกหักร้างเพื่อทำสวน ทำไร่ ถูกจับจองโดยคนไทยและคนจีน ตลอดจนการเก็บของป่ากลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย พรานป่าอย่างชาวชองจึงต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นแรงงานในเมือง บางส่วนกลายเป็นชาวนาชาวไร่ ชุมชนของชาวชองในปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นบริเวณบ้านคลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ

ปี พ.ศ. 2200 ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่ม ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรีและหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกำลังพลประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมาทางทิศตะวันออกและยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นเวลา 5 เดือน เพื่อเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและไพร่พล จากนั้นจึงนำกองทัพทั้งชาวไทยและชาวจีนจำนวน 5,000 คน กลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา

เหตุการณ์ดังกล่าว เป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากโบราณสถาน และอนุสรณ์สถานหลายแห่งที่ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในครั้งนั้น

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านเนินวง เนื่องจากเป็นที่สูงมีชัยภูมิเหมาะเป็นที่มั่น ในการป้องกันการรุกรานของพวกญวน จนกระทั่งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองจันทบุรีได้ย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านลุ่มตามเดิม เนื่องจากบริเวณบ้านเนินวงอยู่ไกลจากแหล่งน้ำ

ในปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองเมืองจันทบุรีไว้เป็นเวลานานถึง 11 ปี จนไทยต้องยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเมืองจันทบุรีกลับคืนมา ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดตั้งระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ เมืองจันทบุรีได้ยกฐานะเป็นจังหวัดจันทบุรีมาจนถึงปัจจุบัน จันทบุรีจึงเป็นเมืองชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย ทั้งในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์จวบจนทุกวันนี้

สถานที่ท่องเที่ยว

ลานหินสีชมพู เป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งใหม่ ตั้งอยู่ภายในบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์คุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี สามารถเดินชมได้ในช่วงตอนกลางวันจะมองเห็นเป็นลานหินสีชมพูอมม่วง – นำ้ตาลแดง เปิดให้นักท่องเที่ยวและประชาชนเข้ามาท่องเที่ยวและศึกษาเส้นทางเดินชมธรรมชาติ ระยะทาง 1000 เมตร โดยใช้ระยะเวลาในการเดิน 1 ชั่วโมง 30 นาที เมื่อถึงจุดลานหินสีชมพูก็สามารถมองเห็นเกา่ะต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ได้อย่างสาวยงาม

นักท่องเที่ยวได้เดินชมวิวสวยๆ บนสะพานไม้ที่ทอดยาวท่ามกลางน้ำทะเล ระยะทางประมาณ 50 เมตร เป็นสะพานที่สร้างขึ้นจากพลังศรัทธาของชาวบ้าน เป็นทางเดินเพื่อสักการะ “เจดีย์บ้านหัวแหลม” ( แต่สะพานไม้ยาวไม่ถึงเจดีย์ จะสามารถเดินถึงก็ต่อเมื่อน้ำลดลง)

มีเจดีย์ตั้งอยุ่บนโขดหิน ทอดยาวออกไปในทะเล ประมาณ 50 เมตร ในสมัยก่อน การจะเข้าไปนมัสการหรือชมวิว ต้องนั่งเรือหรือลุยน้ำทะเล ไป หรือต้องรอช่วงน้ำลงถึงจะปรากฏทางเดิน ซึ่งปัจจุบันได้มีการสร้างสะพานไม้เพื่อเป็นทางเดินไปนมัสการและ สร้างแหล่งท่องเที่ยวแหล่งใหม่ ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นอย่างดี และได้รับคำชมจากนักท่องเที่ยวที่ได้มาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก และสามารถมากราบไหว้ขอพรเจดีย์กลางน้ำอายุกว่า 200 ปี เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว พร้อมชมบรรยากาศท้องทะเลที่สวยงามและชมวิถีชีวิตชาวประมงของหมู่บ้านหัวแหลมซึ่งชาวบ้านส่วนมากมีอาชีพประมงแบบใกล้ชิด

จิตรกรรมในโบสถ์หลังเก่า วัดจันทบุรี อำเภอเสาไห้ โดดเด่นด้วยภาพสะท้อนวิถีชีวิตของชาวไทยวน ทั้งภาพเขียนและตัวอาคารเป็นแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ภาพเขียนจิตรกรรมฝาหนังภายในโบสถ์เก่าแก่อายุกว่า 100 ปี ที่วัดเนินสูง จ.จันทบุรี ที่เขียนถึงตัวละครเรื่องทศชาติชาดก และวิถีชีวิตของคนในสมัยโบราณภายในโบสถ์เก่าแก่วัดเนินสูง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ที่เขียนโดยฝีมือช่างจากจังหวัดจันทบุรี ปัจจุบัน เริ่มหาชมได้ยากและเริ่มที่จะเลือนหายไป แต่ทางวัดเนินสูงยังคงอนุรักษ์ และเก็บรักษาไว้เพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ตลอดจนนักท่องเที่ยวได้เข้าศึกษาเรียนรู้ และท่องเที่ยวถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก

Shops in Chanthaburi

Leave a Reply

Related Post

ตราดตราด

ตราด เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยว ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราด ตั้งอยู่บนถนนหลักเมือง ใกล้วัดโยธานิมิตร ศาลนี้มีลักษณะแปลกจากศาลหลักเมืองอื่นๆ คือ ตัวอาคารก่อสร้างในลักษณะเป็นเก๋งจีน ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราดเป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านเมืองของชาวตราด เป็นศูนย์รวมจิตใจของทั้งคนไทยและคนจีน

ภูเก็ตภูเก็ต

ภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า “ภูเขา” ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า “บูเก๊ะ” หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ

กระบี่กระบี่

กระบี่ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น หาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการัง ถ้ำ และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 100 เกาะ และเป็นที่ตั้งของเรือนรับรองที่ประทับแหลมหางนาค จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานได้ว่า บริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ดินแดนนี้เดิมคือ บันไทยสมอ มีสภาพเป็นชุมชนเล็ก ๆ ขึ้นอยู่กับอาณาจักรนครศรีธรรมราช เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เจ้าพระยานคร (น้อย) ได้มอบหมายให้ปลัดเมืองไปตั้งเพนียดคล้องช้างที่กระบี่ ทำให้ผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันมากขึ้นจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ ต่อมายกฐานะเป็น แขวงเมืองกาสัย หรือ ปกาสัย ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช ประมาณปี พ.ศ. 2415 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองปกาสัย และพระราชทานนามว่า เมืองกระบี่ เมื่อได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นเมืองแล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำการอยู่ที่ตำบลกระบี่ใหญ่