เชียงราย

“เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง”

เชียงรายเป็นจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือที่สุดของประเทศไทย ตั้งศาลากลางที่ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย อาณาเขตทิศเหนือจรดแขวงเมืองสาด และแขวงท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สาธารณรัฐสหภาพพม่า โดยมีทางหลวงแผ่นดินทะลุผ่านถึงกันทางถนนที่เชื่อมต่อไปยังประเทศพม่าที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย และในอนาคตที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ถนนสาย R3A ที่อำเภอเชียงของ ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแม่น้ำโขง ทิศตะวันออกจดทิวเขาหลวงพระบางซึ่งปันเขตแดนไทยกับประเทศลาว และติดต่อกับจังหวัดพะเยา ทิศใต้กับจังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนทิศตะวันตกกับจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเรียกว่าดอยลังกาหลวงหรือดอยแม่โถ เป็นยอดเขาที่มีเส้นแดนติดกันทั้ง 3 จังหวัดบนยอดเขา

จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยว เป็นจังหวัดที่ใหญ่อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย โดยมีพิ้นที่จังหวัดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของประเทศไทยและเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจีนตอนใต้-อินโดจีน

พงศาวดารโยนกว่า พญามังรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงชัยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่จนถึง พ.ศ. 1860
สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพญามังรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนคราม หรืออีกชื่อหนึ่งว่าพญาไชยสงคราม ก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่

ครั้นต่อมาเมื่อล้านนาตกไปอยู่ในปกครองของพม่า ในปี พ.ศ. 2101 พม่าได้ตั้งขุนนางปกครองเมืองเชียงรายเรื่อยมา หลังจากนั้น พ.ศ. 2317 เจ้ากาวิละแห่งลำปางได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ทำให้หัวเมืองล้านนาฝ่ายใต้ตกเป็นประเทศราชของสยาม ขณะที่เชียงรายและหัวเมืองล้านนาฝ่านเหนืออื่น ๆ ยังคงอยู่ใต้อำนาจพม่า ล้านนากลายเป็นพื้นที่แย่งชิงอำนาจระหว่างสยามกับพม่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่เมืองอื่น บ้างก็ถูกกวาดต้อนลงไปทางใต้ พ.ศ. 2247 เมืองเชียงแสนฐานที่มั่นสุดท้ายของพม่า ถูกกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และน่าน ตีแตก เมืองเชียงรายจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้างตามเมืองเชียงแสน

ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเชียงรายขึ้นใหม่ ภายหลังเมืองเชียงรายได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพฤศจิกายนพ กระทั่งปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชบัญญัติ ยกเชียงรายขึ้นเป็น เมืองเชียงราย ซึ่ง “เมือง” เป็นหน่วยการปกครองหนึ่งที่อยู่ถัดจาก “มณฑล” ลงมา โดยเมืองเชียงรายเป็นศูนย์กลางควบคุมเชียงแสน ฝาง และพะเยา ภายหลังเมืองเชียงรายได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงราย และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ได้แบ่งแยกพื้นที่บางส่วนทางตอนใต้ของจังหวัดจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา จนถึงปัจจุบัน

สถานที่ท่องเที่ยว

ชุมชนท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่จุดเหนือสุดของประเทศไทย เริ่มดำเนินการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเมื่อประมาณ5ปีที่ผ่านมา โดยคุณจินนาลักษณ์ ชุ่มมงคล เจ้าของโรงงานกระดาษสาจินนาลักษณ์ ต่อมาในปี2559ได้เริ่มดำเนินการพัฒนาเป็นรูปแบบชุมชนท่องเที่ยว หลังจากที่ได้ดำเนินการพัฒนาเป็นชุมชนท่องเที่ยวผ่านไป6เดือน ทางคณะกรรมการประเมินหมู่บ้านท่องเที่ยว จากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ทั้งในระดับจังหวัดและส่วนกลางได้เดินทางเข้ามาทำการตรวจสอบเพื่อประเมินตามหลักเกณฑ์ของหมู่บ้านท่องเที่ยว ซึ่งหมู่บ้านท่องเที่ยวบ้านปางห้าได้ผ่านการประเมินเมื่อปลายปี2559
ทางชุมชนได้กำหนดให้โรงงานกระดาษสาจินนาลักษณ์ ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านปางห้า เป็นศูนย์กลางบริหารของชุมชนท่องเที่ยว และเป็นจุดต้อนรับนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งเป็นฐานกิจกรรมการเรียนรู้หลัก คือกิจกรรมทำกระดาษสา และนอกจากกิจกรรมทำกระดาษสาแล้ว ปัจจุบันจุดต้อนรับนักท่องเที่ยวที่โรงงานกระดาษสาจินนาลักษณ์ ได้มีกิจกรรมเด่นของชุมชนคือการสปามาร์คหน้าใยไหมทองคำ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของวงการสุขภาพ ได้รับรางวัลชนะเลิศทั้งในระดับประเทศและระดับโลก นักท่องเที่ยวสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกเพศทุกวัย ขณะนี้ทางชุมชนกำลังจัดทำโครงการขยายให้ชาวบ้านมีส่วนรวมในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวด้วย
พระเจ้าอกแอ่นตั้งอยู่ ณ สถานปกิบัติธรรมพระเจ้าอกแอ่น บ้านเวียงกือนา หมู่ที่2ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเมื่อประมาณ640ปีก่อน พระเจ้ากือนา กษัตริย์ลำดับที่6แห่งราชวงค์เม็งราย ทรงประสูติที่เมืองเชียงแสน เป็นโอรสของพระเจ้าผายู ผู้ครองเมืองเชียงแสน ต่อมาพระเจ้าผายู ได้ไปครองเมืองเชียงใหม่จึงให้พระเจ้ากือนา ขึ้นครองเมืองเชียงแสนสืบต่อ เมื่อพระเจ้าผายูสวรรคตพระเจ้ากือนาจึงไปครองเมืองเชียงใหม่ ในขณะที่พระเจ้ากือนาเดินทางไปครองเมืองเชียงใหม่นั้น เมื่อไปถึงบริเวณริมแม่น้ำกก ซึ่งเป็นเขตระหว่างเชียงแสนกับเชียงราย (อ.เวียงชัยในปัจจุบัน) ได้หยุดพักอยู่ในหมู่บ้านใหญ่แห่งหนึ่ง (ปัจจุบันคือหมู่บ้านเวียงกือนา) แล้วได้สร้างพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง7ศอก ไว้องค์หนึ่ง พร้อมสร้างวิหารกว้าง7วา ยาว12วา อีกหลักหนึ่ง ส่วนพระมหาเทวี พระมเหสีของพระเจ้ากือนา ได้สร้างพระพุทธรูปมีพุทธลักษณะแอ่นเพลา (อก) ขนาดหน้าตัก3ศอก ไว้บริเวณฝั่งตรงข้ามกับพระเจ้ากือนา มีระยะห่างกันพอไก่ขันได้ยิน โดยสร้างไว้เป็นที่ระลึก (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักปฏิบัติธรรมพระเจ้าอกแอ่น ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย) และได้จัดงานฉลองถวายทานพร้อมกันเมื่อจุลศักราช725เดือน6พระเจ้ากือนา ได้เดินทางไปครองเมืองเชียงใหม่ต่อในปีเดียวกัน ซึ่งสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม สงบ และร่มรื่น จึงทำให้เกิดบรรยากาศ ที่สดใสและสวยงามยิ่งนัก จึงน่าจะพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเชียงรายต่อไป

เทศบาลนครเชียงรายได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยรถราง “นั่งรถรางแอ่วเมืองเล่าขาน 9 ตำนานนครเจียงฮาย” ตามเส้นทาง จุดที่ 1 อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายฯ จุดที่ 2 อาคารเทิดพระเกียรติ 90 ปีสมเด็จพระศรีนครินทร์ และ อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 จุดที่ 3 วัดพระสิงห์ จุดที่ 4 วัดพระแก้ว จุดที่ 5 วัดดอยงำเมือง จุดที่ 6 วัดพระธาตุดอยจอมทอง จุดที่ 7 วัดมิ่งเมือง จุดที่ 8 หอนาฬิกาเชียงราย จุดที่ 9 สวนตุงและโคมนครเชียงราย โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวจำนวนมาก ทั้งประเพณีวัฒนธรรม วิถีการดำรงชีวิตที่มีความหลากหลาย มีศิลปะโบราณสถานโบราณวัตถุเก่าแก่ และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานกว่า750ปี เทศบาลนครเชียงรายได้จัดทำโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยรถราง ให้บริการนำเที่ยวตามเส้นทางเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม
เป็นการปรับปรุงอาคารหอประชุมเม็งรายอนุสรณ์เดิม เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านภูมิหลังของท้องถิ่น พัฒนาการทางสังคม ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ในส่วนของการจัดแสดงนิทรรศการภายในได้จัดแสดงเนื้อหานับตั้งแต่ยุคสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ ยุคของการสร้างบ้านเมือง การเปลี่ยนแปลง จนกระทั่งเป็นเมืองเชียงรายในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังจัดแสดงเรื่องราววิถีชีวิตภูมิปัญญา การเมืองการปกครองและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันน่าภูมิใจของคนเชียงราย ซึ่งทั้งหมดนี้นำเสนอด้วยแบบจำลองผสานสื่อที่ทันสมัย ทั้งสไลด์วีดีทัศน์ ซอฟแวร์ หุ่นจำลอง บอร์ดกราฟฟิกและภาพประกอบคำบรรยายที่ทันสมัยสวยงามน่าสนใจ และง่ายต่อการเรียนรู้
Shops in Chiang Rai

Leave a Reply

Related Post

อุดรธานีอุดรธานี

พื้นที่ที่จังหวัดอุดรธานีปรากฎในประวัติศาสตร์เมื่อราวปีจอ พ.ศ.2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทน์และเมืองหนองบัวลำภูนี้เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ ในสมัยกรุงรัตนโกสินเป็นราชธานีนั้น จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงคราม กล่าวคือในระหว่าง พ.ศ.2369- 2371 ได้เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีผู้นำคือคุณหญิงโม(ท้าวสุรนารี) กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงส์แตกพ่ายไป กระทั่งในปลายสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 ประมาณ พ.ศ.2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราวในปี พ.ศ. 2428 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้าย กำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ

ตราดตราด

ตราด เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยว ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราด ตั้งอยู่บนถนนหลักเมือง ใกล้วัดโยธานิมิตร ศาลนี้มีลักษณะแปลกจากศาลหลักเมืองอื่นๆ คือ ตัวอาคารก่อสร้างในลักษณะเป็นเก๋งจีน ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราดเป็นสิ่งสำคัญคู่บ้านเมืองของชาวตราด เป็นศูนย์รวมจิตใจของทั้งคนไทยและคนจีน

กาญจนบุรีกาญจนบุรี

กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม่า ความเป็นมาของกาญจนบุรีเท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก[3] สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม[3] สมัยบายน กาญจนบุรียังปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำสงครามระหว่างกองทัพไทยกับพม่า จนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ เดิมตัวเมืองกาญจนบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า (บริเวณเขาชนไก่ในปัจจุบัน) ภายหลังจนถึง พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่