อยุธยา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอดีตราชธานีของไทยมีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะ ตำนานพงศาวดาร ไปจนถึงหลักศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งเมืองอโยธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง และมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครองบ้านเมือง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส พระอัยการลักษณะกู้หนี้สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และ เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกันแล้วทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยกวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างเมืองใหม่ แต่กรุงศรีอยุธยาไม่ได้ กลายเป็นเมืองร้าง ยังคงมีคนรักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่และราษฎรที่หลบหนีไปได้กลับเข้ามาอยู่รวมกัน ต่อมาได้รับการยกย่อง เป็นเมืองจัตวาเรียก “เมืองกรุงเก่า”พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวาเช่นเดียวกับสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้นโดยให้รวมเมืองที่ใกล้เคียงกัน 3 – 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์ และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และต่อมาในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจากมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหาร การปกครองมากขึ้นการสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบันในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยาเพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษประจวบกับในปี พ.ศ.2498นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทยและมอบเงินจำนวน200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นการบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก มีมติให้ขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็น ” มรดกโลก ” เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยาอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปี มีประวัติในการปกครอง การกอบกู้เอกราช วีรกรรมและด้านขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารดังคำกล่าวว่า ” ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ” ทั่วทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมากมายไปด้วยวัดวาอาราม ปราสาทราชวังและปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุมากมายกรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรสืบต่อกันมา 33 พระองค์ มีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันครองอาณาจักรรวม 5 ราชวงศ์

  1. ราชวงศ์อู่ทอง
  2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
  3. ราชวงศ์สุโขทัย
  4. ราชวงศ์ปราสาททอง
  5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

สถานที่ท่องเที่ยว

วัดเชิงท่า วัดตีนท่า หรือ วัดติณ หรือ วัดคลัง หรือ วัดโกษาวาสน์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดเก่า สร้างขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือ พระเจ้าอู่ทอง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง วัดตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะเมือง ริมฝั่งซ้ายของ แม่น้ำลพบุรี ใกล้กับ คูไม้ร้อง ซึ่งเป็นอู่เก็บเรือพระที่นั่ง ในสมัย กรุงศรีอยุธยา ฝั่งตรงข้ามวัด คือ ป้อมท้ายสนม และ ปากคลองท่อ ซึ่งเป็นท่าข้ามเรือของฝั่งเกาะเมือง มาขึ้นฝั่งที่ท่าน้ำหน้า วัดเชิงท่า

วัดแห่งนี้มีตำนานการก่อสร้างหลายสำนวน ทั้งในประวัติศาสตร์และวรรณคดี เช่น ตำนานว่ามีเศรษฐีสร้างเรือนหอให้บุตรสาวซึ่งหนีตามชายคนรักไปแล้วไม่ย้อนกลับ จึงถวายเรือนหอแก่วัดที่สร้างขึ้น ชื่อว่า วัดคอยท่า บริเวณวัดยังมีโบราณสถานสำคัญประจำวัด ได้แก่ ปรางค์ห้ายอดสมัยอยุธยา ซึ่งมีลักษณะพิเศษหาที่อื่นไม่ได้โดยก่อฐานพระปรางค์เป็นทรงแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสร้างวิหารยื่นออกไปเป็นรูปกากบาทหรือไม้กางเขน ส่วนศาลาการเปรียญสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4ภายในมีธรรมาสน์ปิดทองคำเปลวงดงาม ลายจำหลักไม้หน้าบันว่ากันว่าเป็นของเดิมที่เหลือรอดมาจากครั้งกรุงแตก

 

วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อทรงใช้เป็นสถานที่สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อเสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังบางปะอิน ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเลียนแบบโบสถ์คริสต์

วัดนิเวศธรรมประวัติ ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศใต้คนละฝั่งกับพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเลียนแบบโบสถ์ฝรั่ง เมื่อ พ.ศ.2421 ด้านหน้าพระประธานจะเห็นภาพประดิษฐ์กระจกสีเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 5 ด้านขวามือของพระอุโบสถนั่นมีหอแห่งหนึ่ง คือ หอประดิษฐานพระคันธารราษฎร์ เป็นกอประดิษฐานพระพุทธศิลาเก่าแก่ปางนาคปรก อันเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรีฝีมือช่างขอมอายุเก่าแก่นับพันปี นอกจากนี้วัดนิเวศธรรมประวัติยังมีการตกแต่งทำแบบโกธิค มีกระจกสีประดับอย่างสวยงามภายในเป็นแบบฝรั่ง แม้แต่ฐานที่ประดิษฐานพระประทานคือ พระพุทธนฤมลธรรโมภาสและพระสาวกก็ไม่ได้ทำเป็นฐานชุกชีอย่างในโบสถ์ทั่วไป แต่ทำเหมือนที่ตั้งไม้กางเขนในโบสถ์คริสต์ช่องหน้าต่างที่เจาะ ไว้ก็เป็นหน้าต่างโค้ง ที่ฝาผนังโบสถ์

การเดินทางมายังวัดนิเวศธรรมประวัตินั้น สามารถทำได้หลายทาง เช่น การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ถ้ามาจากกรุงเทพฯ ให้มาตามถนนพหลโยธิน เมื่อถึงประตูน้ำพระอินทร์ ให้ข้ามสะพานวงแหวนรอบนอก หลังจากนั้น ให้เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 35 สู่ทางหลวงหมายเลข 308 อีกประมาณ 7 กิโลเมตรก็จะถึงพระราชวังบางปะอิน ให้สังเกตว่าที่จอดรถวัดนิเวศธรรมประวัติจะอยู่ติดกับที่จอดรถของพระราชวังบางปะอิน เมื่อจอดรถแล้วสามารถขึ้นกระเช้าไฟฟ้า ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังวัดนิเวศธรรมประวัติ

การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ถ้ามาจากกรุงเทพฯ สถานีขนส่งสายเหนือ นั่งรถสายกรุงเทพฯ-บางปะอิน มาลงที่บขส.บางปะอิน (สุดสาย) จากนั้นนั่งรถสามล้อเครื่องไปลงบริเวณที่จอดรถวัดนิเวศธรรมประวัติ แล้วขึ้นกระเช้าไฟฟ้า ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังวัดนิเวศธรรมประวัติ

นอกจากนี้ ยังสามารถเดินทางโดยรถไฟ มาลงที่สถานีรถไฟอำเภอบางปะอิน หรือเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง มาลงที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วต่อรถโดยสารไปลงบริเวณที่จอดรถวัดนิเวศธรรมประวัติแล้วสามารถขึ้นกระเช้าไฟฟ้า ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังวัดนิเวศธรรมประวัติ

 

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและศึกษาเชิงอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาทั้งด้านการแต่งกายสถาปัตยกรรมที่งดงามและคงเอกลักษณ์ขนบธรรมเนียมประเพณี การละเล่น และแสดงพื้นบ้าน ของกินของใช้ในยุคเก่า วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทยๆ ที่เรียบง่าย

ตลาดน้ำอโยธยา เป็นจุดศูนย์รวมนัก ท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะได้เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศ และทัศนียภาพอันงดงามแบบไทยๆด้วยการเดินชมตลาดเพื่อชิมอาหารรสชาดอร่อยๆ เรียบคลองยาว หรือจะซื้อหาของกินของฝากบนร้านค้าที่ตั้งเรียงรายอยู่ในเรือนไทยอันงดงาม รอบตลาดน้ำอโยธยาของเรา ก็เพลิดเพลินไม่แพ้กัน พร้อมกันนี้ก็ยังมีเรือบริการรับส่งไปยังท่าเรือภายในตลาดอีกด้วยเพื่อ สะท้อนถึงวิถีการ เดินทางในสมัยก่อน

 

 

Shops in Ayutthaya
shop_img

ร้าน ที่ดินเปล่า

ประเภทร้านค้า: อสังหาฯ
สาขา: 2 ไร่ (650628001)
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


Leave a Reply

Related Post

สมุทรปราการสมุทรปราการ

“สมุทรปราการ” เป็นเมืองที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ เนื่องจากที่ตั้งเป็นเขตยุทธศาสตร์ทางน้ำ คำว่า “สมุทรปราการ” มาจาก คำว่า “สมุทร” ซึ่งแปลว่าทะเล และ “ปราการ” ที่แปลว่า กำแพง จึงมีความหมายโดยรวมว่า “กำแพงริมน้ำ” และหากย้อนหลังไป 800 ปีเศษ ชนชาติขอมซึ่งมีความรุ่งเรืองอยู่ ในขณะนั้นได้สร้างเมืองพระประแดงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านซึ่งสันนิษฐานว่า  ในปัจจุบันคือบริเวณท่าเรือคลองเตย และต่อมาแผ่นดินบริเวณรอบเมืองพระประแดงนั้นได้งอกออกไปในทะเลโดยทิศใต้แผ่นดินงอกถึงแถบตำบลปากคลองบางปลากดซึ่งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา และทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาแผ่นดินได้งอกถึงบริเวณตำบลบางด้วน บางหมู และบางนางเกรง ทำให้เมืองพระประแดงมีความสำคัญลดลง เนื่องจากอยู่ห่างจากบริเวณปากแม่น้ำ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2163 –

น่านน่าน

“แข่งเรือลือเลื่องเมืองงาช้างดำจิตรกรรมวัดภูมินทร์แดนดินส้มสีทเรืองรองพระธาตุแช่แห้ง” จากหลักฐานทางโบราณคดี การขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีภูซางและแหล่งโบราณคดีในเขตลำน้ำซาว พบหลักฐานเครื่องมือหินซึ่งกำหนดอายุได้ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องมาในช่วงสมัยประวัติศาสตร์ โดยพบการใช้เครื่องมือหินอยู่ในชั้นหลักฐานเดียวกันกับเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาเผาโบราณบ่อสวก เมื่อราว ๗๐๐ – ๘๐๐ ปีมาแล้ว ทำให้เชื่อได้ว่า จังหวัดน่านน่าจะเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ ซึ่งทำให้มีการอยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงประวัติศาสตร์ตอนต้นของเมืองน่าน ปรากฏเป็นหลักฐานจากพื้นเมืองหรือพงศาวดาร ซึ่งได้เล่าเป็นตำนานหรือนิทานเกี่ยวกับกษัตริย์น่าน คือ ขุนนุ่น ขุนฟอง กล่าวคือ บริเวณ ลุ่มลำน้ำย่าง มีเมืองย่าง ซึ่งปกครองโดย พระญาพูคา พระญาพูคาได้พบไข่สองใบ และต่อมาได้กำเนิดเป็นพี่น้องสองคน คือ ขุนนุ่น

นครราชสีมานครราชสีมา

จังหวัดนครราชสีมา เดิมเป็นเมืองโบราณในอาณาจักรไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน ห่างจากตัวเมืองปัจจุบัน 31 กิโลเมตร เรียกว่า “เมืองโคราฆะปุระ” หรือ “โคราช” กับ “เมืองเสมา” ซึ่งทั้ง 2 เมือง เคยเจริญรุ่งเรือง ในสมัยขอม แต่ในปัจจุบันเป็นเมืองร้างตั้งอยู่ริมลำตะคอง นครราชสีมา หรือ โคราช เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย และมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากกรุงเทพฯ ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏที่เป็นบทความเป็นครั้งแรกเป็นเมืองพระยามหานครในการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงมาก จังหวัดนครราชสีมา)