สมุทรปราการ

“สมุทรปราการ” เป็นเมืองที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ เนื่องจากที่ตั้งเป็นเขตยุทธศาสตร์ทางน้ำ คำว่า “สมุทรปราการ” มาจาก คำว่า “สมุทร” ซึ่งแปลว่าทะเล และ “ปราการ” ที่แปลว่า กำแพง จึงมีความหมายโดยรวมว่า “กำแพงริมน้ำ” และหากย้อนหลังไป 800 ปีเศษ ชนชาติขอมซึ่งมีความรุ่งเรืองอยู่ ในขณะนั้นได้สร้างเมืองพระประแดงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านซึ่งสันนิษฐานว่า  ในปัจจุบันคือบริเวณท่าเรือคลองเตย และต่อมาแผ่นดินบริเวณรอบเมืองพระประแดงนั้นได้งอกออกไปในทะเลโดยทิศใต้แผ่นดินงอกถึงแถบตำบลปากคลองบางปลากดซึ่งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา และทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาแผ่นดินได้งอกถึงบริเวณตำบลบางด้วน บางหมู และบางนางเกรง ทำให้เมืองพระประแดงมีความสำคัญลดลง เนื่องจากอยู่ห่างจากบริเวณปากแม่น้ำ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2163 – 2171 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้โปรดให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นใหม่ เพื่อเป็นเมืองปากน้ำหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา และใช้เป็นสถานที่ทำการค้าขายกับชาวฮอลันดาโดยทรงพระราชทานที่ดินบริเวณคลองบางปลากด ให้ชาวฮอลันดาไว้เป็นเมืองการค้าซึ่งเรียกว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม”

ในปี พ.ศ. 2306 สมัยกรุงธนบุรี เป็นสมัยที่สร้างราชธานีใหม่ สมเด็จพระเจ้าตากสิน โปรดเกล้าฯ ให้รื้อกำแพงเมืองพระประแดงเดิมที่ตำบลราษฎร์บูรณะ เพื่อไปสร้างกำแพงพระราชวังจึงทำให้กำแพงเมืองพระประแดงเดิมสูญหายสิ้นซากนับแต่นั้นมา

ในปี พ.ศ. 2352 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเห็นความสำคัญที่จะต้องสร้างเมืองทางชายฝั่ง เพื่อป้องกันศัตรูที่จะรุกล้ำมาจากทางทะเลสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเดิมมีเมืองพระประแดงและเมืองสมุทรปราการเป็นเมืองหน้าด่าน แต่อยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก พระองค์จึงดำริที่จะบูรณะเมืองพระประแดง ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างเมืองสมุทรปราการและกรุงเทพฯโดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ลงสำรวจพื้นที่บริเวณปากน้ำเจ้าพระยา เพื่อสร้างเมืองขึ้นใหม่และสร้าง “ป้อมวิทยาคม” ที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 รัฐบาลไทยได้อนุมัติสัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์ก เพื่อสร้างทางรถไฟสายแรกขึ้นในประเทศไทย ระหว่าง กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ แต่บริษัทยังขาดทุนทรัพย์ จึงมิได้ดำเนินการก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยืมทุนทรัพย์ไปสมทบด้วยส่วนหนึ่ง และได้เสด็จพระราชดำเนินแซะดินเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 กับได้เปิดทางรถไฟ ณ สถานีสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2436 โดยใช้รถจักรไอน้ำลากจูง แต่ต่อมาภายหลังเปลี่ยนใช้รถไฟฟ้า ทางรถไฟสายนี้ได้ยุบเลิกกิจการไป เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2503 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองนครเขื่อนขันธ์กลับเป็น “เมืองพระประแดง” ดังเดิม เพราะยังคงบริเวณเดิมของพระประแดง และในปี พ.ศ. 2459 ทรงเปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัด เมืองสมุทรปราการจึงเปลี่ยนเป็น “จังหวัดสมุทรปราการ” ประกอบด้วยอำเภอสมุทรปราการ อำเภอบ่อ อำเภอบางพลี และอำเภอสีชัง และเมืองพระประแดงเป็น จังหวัดพระประแดง ประกอบด้วยอำเภอพระประแดง อำเภอพระโขนง และอำเภอราษฎร์บูรณะ

ปี พ.ศ. 2475 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐบาลต้องประหยัดการใช้จ่ายเงินของแผ่นดิน จึงโปรดฯ ให้ยุบจังหวัดพระประแดงขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอพระโขนงขึ้นกับจังหวัดพระนคร และอำเภอราษฎร์บูรณะขึ้นกับจังหวัดธนบุรีในปี พ.ศ. 2485 ได้มีพระราชบัญญัติรวมจังหวัดพระนคร ธนบุรี สมุทรปราการ และนนทบุรีเข้าไว้ด้วยกัน รวมเรียกว่า นครบาล กรุงเทพฯ ธนบุรี และในปี พ.ศ.2486 มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองใหม่ ยุบจังหวัดสมุทรปราการขึ้นกับจังหวัดพระนคร และในปี พ.ศ. 2489 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

สถานที่ท่องเที่ยว

เมืองโบราณคือเมืองในอดีต อดีตคือช่วงเวลาที่ผ่านไป ช่วงเวลาที่ผ่านไปย่อมต้องมีช่วงเวลาที่ติดตามมา ความแตกต่างอยู่ที่ถึงก่อนถึงหลังเท่านั้น เช่นเดียวกับพระอาทิตย์ พระจันทร์ต่างผลัดกันให้แสงสว่าง เกิดวัน เดือน ปี ปรากฏการณ์ทั้งหลายย่อมไม่มีจุดเริ่มต้นให้เห็นได้ เป็นวัฏฏะที่หมุนเวียน เหตุวันนี้ย่อมสืบเนื่องมาจากเมื่อวานนี้ การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ย่อมมาจากวันนี้ ฉะนั้นเรื่องของอดีตคนปัจจุบันจำเป็นจะต้องรู้ หากเราไม่รู้จักอดีตก็เหมือนเดินเรือในท้องทะเลโดยปราศจากเข็มทิศและหางเสือ ผลที่จะเกิดขึ้นกับเรือลำนั้นเป็นที่น่าวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง

เมืองโบราณ (Ancient City) มีพื้นที่ประมาณ 800 ไร่ มีรูปร่างคล้ายด้ามขวานทองของประเทศไทย เริ่มก่อสร้างเมื่อปลายปี พ.ศ. 2506 เป็นแหล่งท่องเที่ยวซึ่งรวบรวมปราสาท ราชวัง วัดวาอาราม รวมถึงงานประติมากรรมต่างๆ ไว้ให้เข้าไปเที่ยวชม สิ่งก่อสร้างเหล่านี้บางแห่งเป็นการสร้างจำลองตามแบบของสถานที่จริง และบางแห่งก็เป็นการผาติกรรม ซึ่งเป็นการยกเอาสิ่งปลูกสร้างมาจากสถานที่จริง นำมาบูรณะให้งดงามอย่างเช่นอดีต ภายในเมืองโบราณมีการแบ่งพื้นที่ตามภูมิภาค เช่น ในภาคเหนือเราจะได้เห็น “วัดภูมินทร์” วิหารจตุรมุขสำคัญของจังหวัดน่าน ซึ่งมีภาพปู่ม่านย่าม่านอยู่ภายใน รวมถึง “วัดจองคำ” อาคารไม้สักทั้งหลังที่เชื่อมต่อวิหาร ศาลา และกุฏิ ไว้ในอาคารเดียวที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งเมืองโบราณทำการผาติกรรมมาจากจังหวัดลำปาง ส่วนภาคอีสานก็จะมี “พระธาตุพนม” ซึ่งเป็นการสร้างขึ้นตามแบบอย่างในโบราณจึงทำให้สีสันขององค์พระธาตุไม่เหมือนกับในปัจจุบัน เมืองโบราณได้มีการค้นคว้าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ก่อนจะก่อสร้างขึ้นใหม่ให้มีความวิจิตรงดงามตามต้นแบบ นอกจากสถานที่สำคัญๆ ที่ได้ถูกผาติกรรม และถอดแบบมาจากสถานที่จริงแล้ว ภายในเมืองโบราณยังมีอาคาร และสิ่งปลูกสร้างที่เกิดจากจิตนาการของคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ อีกหลายแห่งในส่วนพื้นที่รังสรรค์ ซึ่งอาคารแต่ละหลังล้วนมีความวิจิตรงดงามมาก เช่น “ศาลาพระอรหันต์” “สะพานรุ้ง” “เขาพระสุเมรุ” หรือ “สวนพฤษชาติในวรรณคดีไทย” เป็นต้น

 

สถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนตากอากาศทางชายทะเลด้านอ่าวไทยที่มีชื่อเสียง พื้นที่ทั้งหมด 639 ไร่ มีธรรมชาติอันสมบูรณ์ มีเส้นทางชมป่า ชมนก โดยมีจำนวนนกกว่า 200 ชนิดอาศัยอยู่ ให้นักท่องเที่ยวได้ชมตลอดทั้งปี โดยเฉพาะประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี นกนางนวลจำนวนเป็นพันเป็นหมื่นตัวจะอพยพหนัหนาวจากไซบีเรียมาอาศัยอยู่ที่นี่ในช่วงฤดูหนาว

สถานตากอากาศบางปู จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2480 โดยจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ดำริให้สร้างเป็นสถานที่พักผ่อนของประชาชนทั่วไปเนื่องด้วยติดทะเลและไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มีการสร้างสะพานยื่นออกไปในทะเล ชื่อว่า “สะพานสุขตา” ต่อมา สถานตากอากาศนี้ได้อยู่ในความดูแลของกองทัพบก ในอดีตจึงเป็นสถานพักฟื้น พักผ่อน ของทหารบกที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบ และยังคงเป็นสถานตากอากาศด้วย แต่เมื่อปี พ.ศ. 2542 ได้ยุบสถานพักฟื้นลง ให้เป็นเพียงแต่ที่พักตากอากาศ ต่อมามีการปรับปรุง และเปลี่ยนชื่ออาคารเป็น “ศาลาสุขใจ” ภายในมีร้านอาหาร ลานลีลาศ ให้บริการ นอกจากนี้ ยังมีที่พักไว้บริการนักท่องเที่ยวด้วย จุดเด่นของสถานที่นี้คือ ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนเมษายน จะมีนกนางนวลอพยพหนีหนาวมาหากินอยู่ตามชายทะเล นักท่องเที่ยวนิยมมาให้อาหารนกนางนวล และถ่ายภาพเก็บบรรยากาศที่สวยงามยามพระอาทิตย์ตก รวมถึงยังเป็นแหล่งศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนที่สำคัญอีกด้วย

 

ตลาดริมน้ำเมืองพระวัดใหญ่ตั้งอยู่ที่ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์จำหน่ายสินค้าOTOPการแสดงกิจกรรม นั่งเรือชมทัศนียภาพสองฝั่งคลองและนมัสการหลวงพ่อศักดิ์
ชิมอาหารอร่อย ท่ามกลางบรรยากาศริมน้ำสุดผ่อนคลาย
Shops in Samut Prakan
shop_img

ร้าน สลัดโรลกรีนโอ๊คเพื่อสุขภาพ

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: สลัดโรลกรีนโอ๊คสาขาวัดใหญ่
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน ริชชี่ เสื้อผ้านำเข้า

ประเภทร้านค้า: แฟชั่น
สาขา: คุณกันย์แฟชั่นญี่ปุ่น
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน ไส้ย่างทรงเครื่อง น้ำจิ้มแจ่ว บางปูเซ็นเตอร์

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: บางปูเซ็นเตอร์
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน MadamRosjarin shop

ประเภทร้านค้า: สุขภาพและความงาม
สาขา: MadamRosjarin shop
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน เครป เครื่องไทย

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: เครป เครื่องไทย
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน ขาหมูแม่เป้า

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: ขาหมูแม่เป้า-สุขสวัสดิ์
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน สามชั้น

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: สามชั้น
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน สยามข้าวผัดปู

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: สยามข้าวผัดปู
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


Leave a Reply

Related Post

ภูเก็ตภูเก็ต

ภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า “ภูเขา” ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า “บูเก๊ะ” หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ

อุดรธานีอุดรธานี

พื้นที่ที่จังหวัดอุดรธานีปรากฎในประวัติศาสตร์เมื่อราวปีจอ พ.ศ.2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทน์และเมืองหนองบัวลำภูนี้เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ ในสมัยกรุงรัตนโกสินเป็นราชธานีนั้น จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงคราม กล่าวคือในระหว่าง พ.ศ.2369- 2371 ได้เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีผู้นำคือคุณหญิงโม(ท้าวสุรนารี) กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงส์แตกพ่ายไป กระทั่งในปลายสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 ประมาณ พ.ศ.2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราวในปี พ.ศ. 2428 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้าย กำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ

เชียงรายเชียงราย

“เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง” เชียงรายเป็นจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือที่สุดของประเทศไทย ตั้งศาลากลางที่ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย อาณาเขตทิศเหนือจรดแขวงเมืองสาด และแขวงท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สาธารณรัฐสหภาพพม่า โดยมีทางหลวงแผ่นดินทะลุผ่านถึงกันทางถนนที่เชื่อมต่อไปยังประเทศพม่าที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย และในอนาคตที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ถนนสาย R3A ที่อำเภอเชียงของ ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแม่น้ำโขง ทิศตะวันออกจดทิวเขาหลวงพระบางซึ่งปันเขตแดนไทยกับประเทศลาว และติดต่อกับจังหวัดพะเยา ทิศใต้กับจังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนทิศตะวันตกกับจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเรียกว่าดอยลังกาหลวงหรือดอยแม่โถ เป็นยอดเขาที่มีเส้นแดนติดกันทั้ง 3 จังหวัดบนยอดเขา จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยว