ภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า “ภูเขา” ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า “บูเก๊ะ” หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ต (เกาะถลาง) นั่นเอง
จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต (ถลาง)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต
สถานที่ท่องเที่ยว
วัดฉลอง
วัดฉลอง หรือชื่อที่เรียกเป็นทางการ ก็คือ วัดไชยธาราม เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองที่มีชื่อเสียงของภูเก็ต ถ้าใครมา ภูเก็ตจะต้องมาแวะนมัสการ หลวงพ่อแช่ม แห่งวัดฉลอง เพื่อเป็นสิริมงคลแต่ตัวเอง เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ กิตติศัพท์ในการรักษาโรค บุญญาบารมีและเมตตาธรรมที่สูงส่งของหลวงพ่อทำให้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก เล่ากันว่าในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้นถึงกับมีผู้ที่รอปิดทองตามแขนและขาของท่านจนแลดูเหลืองอร่าม ไปทั่วราว กับปิดทองพระพุทธรูปและแม้ว่าหลวงพ่อแช่มจะมรณภาพเป็นเวลานับหนึ่งร้อยปีมาแล้วก็ตาม ชื่อเสียงเกียรติคุณ และบารมีของท่านก็อยู่ในความทรงจำของผู้คนสืบมา
อีกทั้งที่วัดฉลองแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ พระมหาธาตุเจดีย์พระจอมไทยบารมี ประกาศเป็นที่ประดิษฐสถานของ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำมาจากศรีลังกา วัดฉลองแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวใน ภูเก็ตอีกแห่งที่ ใครๆ ที่มาเที่ยวภูเก็ตจะต้องมาวัดแห่งนี้





ชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต
“ยลเมืองเก่า เล่าความหลัง สัมผัสวิถี เสน่ห์เมืองทุ่งคา” ภูเก็ต ดินแดนแห่งไข่มุกอันดามันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทั้งทางบกและทางทะเล สวรรค์ ของนักท่องเที่ยวที่ต้องมาเยือนซักครั้งในชีวิต นอกจากภูเก็ตจะเป็นที่ต้องตาต้องใจของนักท่องเที่ยวแล้ว ยังมีชุมชนย่านเมืองเก่าที่หล่อหลอมวัฒนธรรมหลากหลายรูปมารวมกัน จนเป็นชุมชนย่านเมืองเก่า ผ่านเข้าไปในย่านเมืองเก่าภูเก็ตจะสะดุดตากับตึกแถวแบบโบราณเรียงรายสองฝั่งถนน ที่เป็น ร่องรอยประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองสมัยรัชกาลที่5 ยุคสมัยการทำเหมืองแร่เฟื่องฟู ให้ได้สัมผัส เสน่ห์สถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส และชมความงดงามแบบคลาสสิค ชาวบ้านย่านเมืองเก่า จึงริเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของอาคารชิโนโปรตุกีสพร้อมทั้งอนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเก่าให้ลูกหลานได้เห็นคุณค่าสืบต่อไป
ย่านเมืองเก่าเป็นแหล่งรวมสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส ที่ยังคงรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน มีรูปแบบวัฒนธรรมเฉพาะที่เรียกว่า “เพอรานากัน” มีพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เป็นแหล่งรวบรวมเรื่องราวของย่านเมืองเก่าและวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพ มาทำเหมือง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีให้เลือกหลากหลายอารมณ์ชวนต้องมนต์เสน่ห์ของเมืองเก่าภูเก็ต
เสน่ห์ของการท่องเที่ยวย่านเมืองภูเก็ต คือการได้ซึมซับเรื่องราวความเป็นมาของอาคารบ้านเรือนในแต่ละหลัง ตรอกซอกซอย ผู้คน และบรรยากาศรายรอบทุกรายละเอียดคือความหมายของปัจจุบัน ชุมชนย่านเมืองเกาภูเก็ต เป็นอีกหนึ่งจุดหมุดหมายที่ไม่ควรพลาดสำหรับนักท่องเที่ยวสายวัฒนธรรม กิจกรรมในชุมชนนี้มีทั้งการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ไทยหัว เป็นพิพิธภัณฑ์ ที่แรกเริ่มเป็นโรงเรียนจีนชื่อดังในอดีต ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อบันทึกความเป็นมาและตัวตนของบรรพบุรุษ ที่นี่ทำให้เราได้เข้าใจถึงวิถีชีวิตของคนเชื้อสายจีนบนเกาะแห่งนี้ ก่อนจะได้ไปสัมผัสกับสภาพความเป็นอยู่จริงในชุมชนย่านเมืองเก่านี้ ซึ่งเป็นการบอกเล่าความเป็นมาของชาวจีนที่มาอาศัยตั้งรกรากอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นเป็นการเยี่ยมชมอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ อายุร่วม 100ปีหลังนี้ ในครัวมีคุณป้าคุณน้าสมาชิกของชุมชนที่มีฝีมือในการทำอาหารได้ตระเตรียมผัดหมี่ฮกเกี้ยนไว้รอแล้ว นอกจากหมี่ผัดฮกเกี้ยนร้อนๆที่เพิ่งผัดเสร็จจากเตา ยังมีอาหารพื้นเมืองอื่นๆ เช่น โอวต๊าว รวมทั้งของหวานอย่างโอ๊ะเอ๋วอีกด้วย โรงตีเหล็กไต่สุ้นอั้น ในยุคเหมืองแร่เฟื่องฟู บนถนนดีบุกเต็มไปโรงงานตีเหล็กตลอดเส้นทาง แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ปัจจุบันโรงงานตีเหล็กไต่สุ้นอั้น เป็นโรงตีเหล็กเพียงแห่งเดียวที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่บนถนนสายนี้ โดยยังยึดวิธีการตีเหล็กแบบดั้งเดิม ใช้แรงคนทุ่มค้อนทุบจนเหล็กกล้ากลายเป็นเครื่องมืองานช่าง ปัจจุบันถึงแม้ลูกค้าลดลง แต่ช่างตีเหล็กก็ยังคงรักษาโรงตีเหล็กเก่าแก่แห่งนี้ไว้ให้เป็นการเรียนรู้ของชุมชนต่อไป ชมบ้านเลขที่88 บนถนนกระบี่ เป็นบ้านของอี๋โป้เต๋ง ผู้สูงวัยในชุมชน ที่ใจดีเปิดบ้านให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปชม ภายในบ้านของท่านมีรูปภาพเก่าแก่ อุปกรณ์เครื่องครัวโบราณ เช่น หินโม่แป้ง เตาไฟ ตาชั่ง และในตัวบ้านยังมีบ่อน้ำกลางบ้านอีกด้วย องค์ประกอบต่างๆถูกจัดวางตามการใช้งานจริงทุกประการ ที่สะท้อนถึงความมั่งคั่งในอดีตของเมืองภูเก็ต เยือนศาลเจ้าแสงธรรมศูนย์รวมแห่งศรัทธา เป็นศาลเจ้าเล็กๆ ที่ซ่อนตัวอย่างสงบจากตัวเมืองภูเก็ต เป็นแห่งรวมจิตใจของชาวจีนโบราณที่เดินทางจากบ้านมาแสวงโชคต่างแดน ใช้ศรัทธาและความเชื่อเป็นเครื่องนำทาง หลอมรวมด้วยความสามัคคี จึงได้สร้างศาลเจ้านี้ขึ้นมา ภายในมีทั้งงานศิลปะรูปปั้นแกะสลักองค์เทพเจ้าต่างๆ และจิตรกรรมฝาผนังโบราณที่น่าชม เป็นอาคารอนุรักษ์ที่ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปีพ.ศ. 2540 อีกด้วย ชมสตรีทอาร์ท สีสันอีกอย่างหนึ่งของชุมชนนี้ ที่แฝงตัวอยู่ตามจุดต่างๆในย่านเมืองเก่า ผลงานร่วมๆกว่า 10 ชิ้น เป็นฝีมือของศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น Alexface รักกิจ โลเล ได้ลองชิม ลิ้มรสอาหารพื้นเมืองริมทางได้เห็นถึงความเป็นอยู่ของผู้คนบนพื้นฐานของความหลากหลายทางเชื้อชาติทางศาสนา แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทั้งคนรุ่นใหม่และผู้สูงวัย เป็นเสน่ห์ที่ทำให้ย่านเมืองเก่าภูเก็ตนี้ มีชีวิตชีวา การเดินเล่นย่านเมืองเก่าภูเก็ตกับเจ้าบ้านที่เกิด และเติบโตที่นี่พร้อมจะถ่ายทอดทุกแง่ทุกมุมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนนี้ ทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักภูเก็ตอย่างถ่องแท้มากขึ้นไป








ภูเก็ตแฟนตาซี
ภูเก็ตแฟนตาซี ตั้งอยู่บริเวณหาดกมลา เป็นแหล่งบันเทิงยามราตรี ที่มีการนำเสนอศิลปวัฒนธรรมไทย ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ภายในบริเวณมีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกและหัตถกรรมไทยต่างๆ ห้องเกมส์แต่ละอาคารจะได้รับการออกแบบเป็น อาคารทรงไทยประยุกต์ลักษณะต่าง ๆ โดยดึงเอาจุดเด่นของแต่ละภาคมาใช้ และตกแต่งโดยใช้แสงสีต่าง ๆ ดูตระการตา สิ่งที่ไม่ควรพลาดชมคือ การแสดงจินตมายา ในวังไอยรา เป็นการนำเอกลักษณ์ของไทยทั้งด้านวรรณคดี วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม มาผสมผสาน และนำเสนอผ่านตัวเอกคือเจ้าชายกมลา และช้างคู่บารมี ไอยรา โดยใช้เทคนิคพิเศษเข้ามาช่วย คั่นการแสดงด้วยบัลเล่ต์กลางเวหา มายากลนำเสนอโดยนักแสดงที่แสดงเป็นอินจันแฝดสยามคู่แรกของโลก
– สถานบันเทิงยามค่ำคืน – มีการจัดแสดงโชว์ด้วยเทคโนโลยีการแสดงระดับสูง ตระกาลตาด้วยแสง สี เสียง และสัตว์นานาชนิด – ร่วมสนุกกับกิจกรรม – จัดการแสดงอย่างมืออาชีพโดยได้นำตำนานมาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย มีการแสดง • การแสดง “มหัศจรรย์กมลา” • โรงละครวังไอยรา • ภัตตาคารมโนห์ราทอง ภาพวาดป่าหิมพานต์ความยาว 400 เมตร • ภัตตาคารสุริยมาศ ดินเนอร์ซีฟู้ดหรูดุจราชา • “พิมานมาศ” มนเทียรสีทอง ทวาราสู่ภัตตาคารมโนห์ราทอง • หมู่บ้านหรรษา แหล่งรวมสินค้าที่ระลึก • สิมิลัน เอนเตอร์เทนเม้น เซ็นเตอร์ แหล่งรวมเกม • เวทีวีว่า แบ็งค็อค ที่รวมการแสดงเฉลิมฉลอง 220 ปีกรุงเทพฯ • ภูผาพิศวง เหล่านางฟ้า เทวดา ร่ายรำต้อนรับแขกผู้มาเยือน • ไทเกอร์ จังเกิ้ล แอดเวนเจอร์ ผจญภัยในดินแดนสัตว์สวยงาม




จุดชมวิวเขารัง
เขารัง เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ เป็นเนินเขาอยู่ในตัวเมืองภูเก็ตทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รถยนต์และยานพาหนะอื่นๆสามารถขึ้นไปถึงยอดเขาตามถนน “คอซิมบี้” สามารถเห็นทัศนียภาพของเกาะภูเก็ตได้อย่างดเจน ยิ่งเป็นช่วงเวลากลางคืนจะเห็นแสงไฟจากตามบ้านเรือนงามระยิบระยับจึงเป็นจุดชมทิวทัศที่ได้รับความนิยมมากของประชากร ภายในจังหวัดและเขารังยังเป็นสวนสุขภาพและสวนสาธารณะไว้พักผ่อนหย่อนใจ จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศที่ต้องการมาชมทัศนียภาพของเมืองภูเก็ตยามราตรีอันงดงาม
เขารังเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี คอซิมบี้ ณ ระนอง เกิดเมื่อวันพุธ เดือน ๘ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๐๐ อนิจกรรม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖ พ.ศ. ๒๔๓๓ ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการกรมมณฑลภูเก็ต ปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ ๗ เมือง ได้แก่ ภูเก็ต ตรัง พังงา กระบี่ ตะกั่วป่า ระนอง สตูล ได้ประกอบคุณประโยชน์แก่ราชการ เป็นมรรคผลดีเลิศ ทำนุบำรุงความเจริญนานัปการ เป็นรากฐานความก้าวหน้าสืบมาถึงปัจจุบัน



Shops in Phuket

ร้าน ร้านข้าวยำสงขลา ณ ภูเก็จ

ร้าน ร้านข้าวยำสงขลา ณ ภูเก็จ


