อุบลราชธานี

อุบลราชธานี เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด รูปดอกบัวตูม และดอกบัวบาน ชูช่อก้านใบเหนือหนองน้ำ เป็นสัญลักษณ์ ระลึกถึงชาวเมืองหนองบัวลำภู ในเขตจังหวัด อุดรธานี..และเป็นจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน ภายใต้การนำของพระวอ และบุตรหลานพระตา ที่อพยพหนีภัยสงครามกับ เมือง เวียงจันทน์ ลงมาตั้งรกรากในเขตจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อประมาณ พ.ศ.2312 ต่อมาชุมชนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย”เมื่อวันจันทร์..เดือน 8 แรม 1 ค่ำ ปีชวด พ.ศ.2335 ในรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชองค์ปฐมบรมราชจักรีวงศ์

สถานที่ท่องเที่ยว

สวนสัตว์อุบลราชธานี เดิมเรียก อุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2556 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อเป็น “สวนสัตว์อุบลราชธานี” และเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 สวนสัตว์อุบลราชธานี ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนดงฟ้าห่วน มีพื้นที่จำนวน 1,217 ไร่ ได้มีการกำหนดจุดเด่นของสวนสัตว์ คือ Jungle Park หรือการนำเอาสวนสัตว์เข้ามาผสมผสานกับความอุดมสมบูรณ์ของป่าภายในพื้นที่ โดยใช้การอนุรักษ์ และหาผลประโยชน์จากสภาพพื้นที่ป่าแบบลดการทำลายสภาพพื้นที่เดิมให้มากที่สุด จัดแบ่งส่วนแสดงสัตว์ เป็น 10 ส่วนแสดง ประกอบด้วย (1) ส่วนจัดแสดงสัตว์กีบไทย (2) ส่วนจัดแสดงกีบต่างประเทศ (3) ส่วนจัดแสดงสิงโตแอฟริกา (4) ส่วนจัดแสดงสิงโต (5) ส่วนจัดแสดงเสือโคร่งขาว (6) ส่วนจัดแสดงสิงโตขาว (7) ส่วนจัดแสดงเสือโคร่งอินโดจีน (8) ส่วนจัดแสดงเสือดำ-ดาว (9) ส่วนจัดแสดงสัตว์ทุ่งแอฟริกา (10) ส่วนจัดแสดงสัตว์ขนาดเล็ก (มินิซู) นอกจากนี้ สวนสัตว์อุบลราชธานี ยังมีกิจกรรมให้นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้เรื่องสัตว์ป่าและธรรมชาติ เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลด้านการศึกษาให้เกิดการบูรณาทางกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นสำคัญ พัฒนาให้เป็นศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย มี 2 ประเภทกิจกรรม คือ (1) ประเภทไป-กลับ 1 วัน(2) ประเภทค่ายพักแรม 2 วัน 1 คืน

จัดแสดงศิลปะวัตถุโบราณในภฺมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดแสดงวัฒนธรรมในด้านวิถีชีวิตชาวอิสาน วัตถุจัดแสดงที่เป็นไฮไลท์ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดในการชมคือ อรรธนารีศวรหินทราย อายุราวพุทธศตวรรษที่13 พบที่จังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะประติมากรรมสลักเป็นรูปพระศิวะและพระอุมารวมกันเป็นองค์เดียว ประทับขัดสมาธิราบบนฐานบัวหงาย นับเป็นอรรธนารีศวรที่เก่าที่สุดรูปหนึ่งเท่าที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีลักษณะค่อนข้างพิเศษทั้งด้านกายวิภาคและรายละเอียดของเครื่องประดับ เฉพาะกุณฑลขนาดใหญ่นั้นคล้ายคลึงกับที่ปรากฏในกลุ่มประติมากรรมศิลปะจามระยะแรก เช่น รูปยักษ์จากตราเกียวในพิพิธภัณฑสถานเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ส่วนผ้านุ่งใกล้เคียงกับผ้านุ่งของพระศิวะจากโบราณสถานไมซอนเอ1พระคเณศหินทราย ศิลปะเขมร อายุราวพุทธศตวรรษที่15
ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายยังแกะสลักรายละเอียดไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่จากลักษณะการแต่งกายคล้ายกับประติมากรรมในศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์สามารถเปรียบเทียบได้กับพระคเนศจากบาสักและพระ คเนศจากปราสาทหินเมืองต่ำ

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยูทางตะวันออกสุดของประเทศไทย สามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นจุดแรกของประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี จุดที่น่าสนใจคือภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม ผาหมอน ผาลาย ประติมากรรมธรรมชาติเสาเฉลียง และจุดชมพระอาทิตย์แสงแรกแห่งสยาม อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีพื้นที่ราว 340 ตารางกิโลเมตร (212,500 ไร่)

Shops in Ubon Ratchathani

Leave a Reply

Related Post

ระยองระยอง

ระยอง เริ่มปรากฎชื่อในพงศาวดารเมื่อปี พ.ศ.2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีประวัติดั้งเดิมตามข้อสันนิษฐานว่า น่าจะก่อตั้งเมืองขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1500 ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่พบ คือ ซากศิลาแลงคูค่าย ที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม โดยในสมัยโบราณ ระยองมีชนพื้นเมืองคือชาวซอง ซึ่งเป็นเผ่าที่อาศัยอยู่กระจายโดยทั่วไปในภาคตะวันออก ในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเมืองระยองในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ในเดือนยี่ปี พ.ศ.2309 พระยาวชิรปราการ หรือ พระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ 500 คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า

อยุธยาอยุธยา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอดีตราชธานีของไทยมีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะ ตำนานพงศาวดาร ไปจนถึงหลักศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งเมืองอโยธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง และมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครองบ้านเมือง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส พระอัยการลักษณะกู้หนี้สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และ

เชียงใหม่เชียงใหม่

“ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์” เมืองเชียงใหม่ มีชื่อที่ปรากฏในตำนานว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาไทยมาตั้งแต่พระยามังรายได้ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.1839 ซึ่งมี อายุครบ 710 ปี ในปี พ.ศ.2549 และเมืองเชียงใหม่ได้มีวิวัฒนาการ สืบเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ตลอดมา เชียงใหม่มีฐานะเป็นนครหลวงอิสระ ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ.1839-2100) ในปี พ.ศ.2101    เชียงใหม่ได้เสียเอกราชให้แก่กษัตริย์พม่าชื่อบุเรงนอง และได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านานร่วมสองร้อยปี