อุดรธานี

พื้นที่ที่จังหวัดอุดรธานีปรากฎในประวัติศาสตร์เมื่อราวปีจอ พ.ศ.2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทน์และเมืองหนองบัวลำภูนี้เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ

ในสมัยกรุงรัตนโกสินเป็นราชธานีนั้น จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงคราม กล่าวคือในระหว่าง พ.ศ.2369- 2371 ได้เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีผู้นำคือคุณหญิงโม(ท้าวสุรนารี) กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงส์แตกพ่ายไป กระทั่งในปลายสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 ประมาณ พ.ศ.2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราวในปี พ.ศ. 2428 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้าย กำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ ในเวลานั้นเมืองอุดรธานียังไม่ปรากฏชื่อเพียงแต่ปรากฎชื่อบ้านหมากแข้ง หรือบ้านเดื่อหมากแข้ง สังกัดเมืองหนองคายขึ้นการปกครองกับมณทลลาวพวน และกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้เดินทัพผ่านบ้านหมากแข้งไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้วไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศสต้องการลาว เขมร ญวณ เป็นอาณานิคม เรียกว่า “กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)” ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการอยู่ในรัศมี 25 กิโลเมตร ของฝั่งแม่น้ำโขงดังนั้น หน่วยทหารไทยที่ตั้งประอยู่ที่เมืองหนองคาย อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมือง หรือมณฑลลาวพวน ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อบ้านเดื่อหมากแข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า 50 กิโลเมตร เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะมีแหล่งน้ำดี เช่น หนองนาเกลือ (หนองประจักษ์ปัจจุบัน) และหนองน้ำอีกหลายแห่ง ทั้งห้วยหมากแข้ง ซึ่งเป็นลำห้วยน้ำใสไหลเย็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลลาวพวน และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญ เพราะเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศยิ่งกว่าเหตุทางการค้า การคมนาคมหรือเหตุผลอื่น ดังเช่นหัวเมืองสำคัญต่างๆ ในอดีตอย่างไรก็ตามคำว่า “อุดร” ได้มาปรากฏเป็นชื่อเมืองเมื่อ พ.ศ.2450 (พิธีตั้งเมืองอุดรธานี 1 เมษายน ร.ศ. 127 หรือ พ.ศ. 2450 โดยพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร หรือ “โพธิ์ เนติโพธิ์”) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นที่บ้านหมากแข้ง อยู่ในการปกครองของมณฑลอุดร

หลังการเปลื่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ยกเลิกการปกครองในระบบมณฑลในส่วนภูมิภาคยังคงเหลือเฉพาะจังหวัดและอำเภอเท่านั้น มณฑลอุดรจึงถูกยุบเลิกไปเหลือเพียงจังหวัด “อุดรธานี

สถานที่ท่องเที่ยว

ป่าคำชะโนด หรือ เมืองชะโนด หรือ วังนาคินทร์คำชะโนด เป็นผืนกอวัชพืช (floating mat)ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ20ไร่ เกิดจากการทับถมและผสานตัวของซากวัชพืชน้ำจำนวนมากเป็นระยะเวลายาวนาน จนก่อกำเนิดคล้ายกับเป็นผืนแผ่นดินลอยตัวในรูปแบบเกาะกลางอ่างเก็บน้ำกุดขาม ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงฤดูฝนในที่ราบลุ่ม แม่น้ำโขง อ่างเก็บน้ำกุดมีปริมาณน้ำสูงขึ้น ป่าคำชะโนดจึงไม่จมน้ำที่ตามระดับน้ำที่สูงขึ้น หรือเมื่อระดับน้ำลดลง ป่าคำชะโนดก็มีการปรับสภาพไปตามระดับน้ำ ภายในป่าคำชะโนดมีพรรณไม้เด่นคือ ต้นชะโนด ซึ่งเป็นพืชจำพวกปาล์ม มีความสูงกว่า30เมตร ป่าคำชะโนด ตั้งอยู่ในพื้นที่3ตำบล คือ ตำบลวังทอง,ตำบลบ้านม่วง และตำบลบ้านจันทร์ ในอำเภอบ้านดุงจังหวัดอุดรธานีป่าแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญ ที่ปรากฏในตำนานพื้นบ้านอีสาน ประชาชนในพื้นที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของพญานาคปู่ศรีสุทโธ ย่าศรีประทุมมา และสิ่งลี้ลับต่าง ๆ บ่อยครั้งที่ชาวบ้านในละแวกนั้นจะพบเห็นชาวเมืองชะโนดไปเที่ยวงานบุญพระเวสสันดร รวมถึงหญิงสาวที่มายืมเครื่องมือทอผ้าอยู่เป็นประจำป่าคำชะโนด แม้จะเป็นผืนแผ่นดินลอยตัวจากกอวัชพืช ทำให้มีการลอยตัวไปตามพลวัฒน์ของน้ำ แต่ป่าแห่งนี้ก็เคยเกิดน้ำท่วม โดยเคยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2516 พ.ศ. 2538 พ.ศ.2559และ พ.ศ.2560

ทั้งนี้เชื่อว่าเกิดจากการที่มีการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ มากขึ้นกว่าเดิมในอดีต จึงทำให้พื้นที่ของเกาะซึ่งลอยน้ำอยู่นั้นมีความหนัก เป็นสาเหตุที่ทำให้ผืนกอวัชพืชบางส่วนจมน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางปี พ.ศ.2560ที่ต้องมีการปิดเกาะแห่งนี้เป็นการชั่วคราว
ตั้งอยู่ในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี อยู่ในบึงน้ำจืด บึงหนองหาน แหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไป ด้วย พันธุ์ปลา พันธุ์นก และพืชน้ำ จำนวนมาก โดยดอกบัวจะออกดอกมีปริมาณมากที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม กุมภาพันธ์ และค่อย ๆ ลดปริมาณลงในเดือนมีนาคม ดอกบัวจะบานในช่วงเช้าตรู่จนถึงเวลาประมาณ11.00น. นักท่องเที่ยวจะมองเห็นดอกบัวแดงบานเต็มท้องน้ำ หนองหานสุดลูกหูลูกตางดงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ จึงเป็นที่มาของคำว่าทะเลบัวแดงซึ่งในทุกปีนักท่องเที่ยว สามารถความงดงามของทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปีได้ตั้งแต่วันที่1เดือนธันวาคม จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี  มีงานเทศกาลทะเลบัวแดงบาน หนองหานกุมภวาปี ณ วัดบ้านเดียม ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสม ท้องที่บ้านนาคำใหญ่ ตำบลบ้านก้อง อันเป็นรอยต่อแผ่นดิน 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย กำเนิดขึ้นจากการดำริชอบของพุทธบริษัทผู้ตระหนักถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติและป่าต้นน้ำลำธาร ซึ่งกำลังถูกทำลาย โดยมุ่งดำเนินรอยตามพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในการรักษาความสมบูรณ์ของป่าไม้ต้นน้ำลำธารตลอดจนสัตว์ป่า และพรรณไม้นานาพันธุ์ เพื่อให้เป็นมรดกของลูกหลานไทยคู่กับแผ่นดินไทยพร้อมทั้งเพื่อจรรโลงส่งเสริมพระบวรพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงคู่แผ่นดินไทยตราบชั่วกาลนาน

Shops in Udon Thani
shop_img

ร้าน ที่ดินเปล่า

ประเภทร้านค้า: อสังหาฯ
สาขา: 6 ไร่ (650630002)
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน พลอยหอมตามสั่ง

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: พลอยหอมตามสั่ง
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


shop_img

ร้าน ฟาโรห์เฮ้าส์

ประเภทร้านค้า: อาหาร
สาขา: ฟาโรห์เฮ้าส์
สั่งผ่าน Skipmove คลิ๊ก


Leave a Reply

Related Post

น่านน่าน

“แข่งเรือลือเลื่องเมืองงาช้างดำจิตรกรรมวัดภูมินทร์แดนดินส้มสีทเรืองรองพระธาตุแช่แห้ง” จากหลักฐานทางโบราณคดี การขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีภูซางและแหล่งโบราณคดีในเขตลำน้ำซาว พบหลักฐานเครื่องมือหินซึ่งกำหนดอายุได้ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องมาในช่วงสมัยประวัติศาสตร์ โดยพบการใช้เครื่องมือหินอยู่ในชั้นหลักฐานเดียวกันกับเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาเผาโบราณบ่อสวก เมื่อราว ๗๐๐ – ๘๐๐ ปีมาแล้ว ทำให้เชื่อได้ว่า จังหวัดน่านน่าจะเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ ซึ่งทำให้มีการอยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงประวัติศาสตร์ตอนต้นของเมืองน่าน ปรากฏเป็นหลักฐานจากพื้นเมืองหรือพงศาวดาร ซึ่งได้เล่าเป็นตำนานหรือนิทานเกี่ยวกับกษัตริย์น่าน คือ ขุนนุ่น ขุนฟอง กล่าวคือ บริเวณ ลุ่มลำน้ำย่าง มีเมืองย่าง ซึ่งปกครองโดย พระญาพูคา พระญาพูคาได้พบไข่สองใบ และต่อมาได้กำเนิดเป็นพี่น้องสองคน คือ ขุนนุ่น

ตรังตรัง

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีที่ปรากฏในจังหวัดตรังมีอยู่ทั่วไป เช่น โครงกระดูกมนุษย์โบราณที่ถ้ำซาไก อำเภอปะเหลียน ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด เศษภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้ว  เครื่องประดับ ตามถ้ำต่าง ๆ เช่น เขาสามบาตร ถ้ำเขาไม้แก้ว ถ้ำเขาเทียมป่า ภาพเขียนสีที่เขาแบนะ ถ้ำตรา ล้วนเป็นหลักฐานบอกความเป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์จนถึงแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ต่อมาจึงมีหลักฐานที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับอาณาจักรโบราณทางภาคใต้ในลักษณะที่เป็นเมืองท่าทางผ่าน และมีพัฒนาการมาตามลำดับ จังหวัดตรังในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราชเจมส์ โลว์ หัวหน้าคณะทูตของผู้ว่าเกาะปีนัง ผู้รับหน้าที่เจรจาปัญหากับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ได้บันทึกไว้ใน

ฉะเชิงเทราฉะเชิงเทรา

จังหวัด ฉะเชิงเทราหรือที่นิยมเรียกกันว่า “แปดริ้ว” เคยเป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมมาก่อนในสมัยอิทธิพลของ อาณาจักรลพบุรี (ขอม) เมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เป็นไปได้ว่าชาวเมืองสมัยโบราณอาจจะเรียกชื่อแม่น้ำบางปะกงว่า คลองลึกหรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็นแต่ด้วยอิทธิพลเขมรจึงได้เรียกชื่อแม่น้ำ เป็นภาษาเขมรว่า “สตึงเตรง หรือ ฉทรึงเทรา” ซึ่งแปลว่า คลองลึก นั่นเอง ครั้นเรียกกันไปนาน ๆ เสียงเลยเพี้ยนกลายเป็น “ฉะเชิงเทรา” แต่ก็มีความเห็นอื่นที่แตกต่างออกไปว่าชื่อ “ฉะเชิงเทรา” น่าจะเพี้ยนมาจาก “แสงเชรา” หรือ “แซงเซา” หรือ “แสงเซา” อันเป็นชื่อเมืองที่สมเด็จพระบรมราชาธิราช