Site icon SKM TRAVEL

บุรีรัมย์

บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทราวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์มาก คือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผา,ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร

สถานที่ท่องเที่ยว

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่

ปัจจุบัน ปราสาทหินพนมรุ้งกำลังอยู่ในเกณฑ์กำลังพิจารณาเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับ ปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ และถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงเป็นภาพพื้นหลังตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอีกด้วย.

ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะ มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขะแมร์ได้หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นวัดมหายาน ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18

จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 กษัตริย์แห่งพระนคร (พ.ศ.1487-1511)ได้สถาปนาเทวสถานถวายพระศิวะที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5(พ.ศ.1511-1544)ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่17นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิธรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2ผู้สร้างนครวัด)ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง

วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง หรือ ภูกระโดง ตั้งอยู่ที่บ้านเขากระโดง ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว มีปากปล่องทะลุเห็นได้ชัดเจน (มีความสูงประมาณ 265 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) รอบบริเวณแวดล้อมด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็ก โดยเฉพาะนกนานาชนิด บนเขากระโดงยังมีโบราณสถานสมัยขอม รอยพระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ชื่อว่า พระสุภัทรบพิตร เป็นที่เคารพสักการะของคนในท้องถิ่น นักท่องเที่ยวนิยมขึ้นไปชมทิวทัศน์ของตัวเมืองบุรีรัมย์ และไหว้พระเพื่อเป็นสิริมงคล เดิมชื่อ พนมกระดอง เป็นภาษาเขมร แปลว่า ภูเขากระดอง (เต่า) เป็นภูเขาที่มีรูปลักษณ์คล้ายกระดองเต่า ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น กระโดงป่าเขากระโดงเดิมมีพื้นที่6,212ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศให้เป็นวนอุทยานเขากระโดง เนื้อที่1,450ไร่ เมื่อวันที่22มีนาคมพ.ศ.2521ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่7(นครราชสีมา)

BURIRAM CASTLEเป็นส่วนหนึ่งของBURIRAM UNITEDตั้งอยู่ระหว่างสนามI-MOBILE STADIUMและสนามแข่งรถระดับโลกCHANG INTERNATIONAL CIRCUITพื้นที่ขนาด93,000ตร.ม. แบ่งเป็นAvenue Area 35,000ตร.ม.,ปราสารหินพนมรุ้งจำลอง14,000ตร.ม.,สวนไม้ดอก ไม้ประดับและสวนตะบองเพชร35,000ตร.ม. (ออกแบบและจัดสร้างโดย สวนนงนุช), CAR PARKING 8,000ตร.ม. เป็นแหล่งอารยธรรมใหม่…ที่รวมหัวใจของบุรีรัมย์ไว้..ที่นี่ ที่เดียว ที่รวมความต้องการให้กับทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นชาวบุรีรัมย์เพื่อนพี่น้องจากจังหวัดใกล้เคียง นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ ที่ นี่…ผสานโลก2ยุค ได้อย่างลงตัวที่สุด ความงดงามของอารยธรรมขอมในอดีต ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับโลกไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ด้วย มาตรฐานที่เป็นสากล มีปราสาทสายฟ้า (พนมรุ้งจำลอ) เป็นจุดlandmarkมีสวนหินและสวนตะบองเพชรขนาดใหญ่ มีCommunity mallประกอบด้วย ร้านอาหาร, Shoppingเสื้อผ้า,แฟชั่น,ของที่ระลึก,motor sport Apprel, KidzoneโรงเรียนพิเศษPlaygroud, SPA, Beauty,Service,It, Bank(SCB), Ticketการเดินทาง,Food court ,ลานกิจกรรม& Night life

Shops in Buriram
Exit mobile version