ขอนแก่น

ในปี พ.ศ. 2332 ท้าวเพียเมืองแพน ได้พาบุตรพร้อมด้วยผู้คนประมาณ 330 ครอบครัว อพยพจากบ้านชีหล่น แขวงเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด) มาตั้งอยู่ที่บ้านบึงบอน (บ้านเมืองเก่า ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น ปัจจุบันนี้) เดิมขึ้นอยู่กับพระยานครราชสีมา ต่อมามีใบบอกลงมายังกรุงเทพฯและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระบรมราชโองการยกฐานะบ้านบึงบอนขึ้นเป็น “เมืองขอนแก่น” เมื่อ พ.ศ. 2340 ตั้งให้ “ท้าวศักดิ์” ซึ่งเป็น “ท้าวเพียเมืองแพน” เป็นเจ้าเมืองขอนแก่น มีนามว่า “พระนครศรีบริรักษ์บรมราชภักดี” หรือผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่นคนแรก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา     การตั้งชื่อเมืองขอนแก่นแต่เดิมท้องถิ่น บ้านขาม ( ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ในปัจจุบัน) มีเนินดินอยู่ตรงกลางทุ่ง มีน้ำลอมรอบในหน้าน้ำและมีต้นมะขามต้นหนึ่งตายไปนานแล้วเหลือแต่ตอที่เป็นแก่น เมื่อมีการสร้างพระธาตุพนม พระยาหลังเขียวและพระอรหันต์ทั้ง 9 พร้อมด้วยข้าราชบริพารจะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้าไปบรรจุที่พระธาตุพนม แต่การเดินทางมาค่ำมืดที่ตรงดอนที่มีน้ำล้อมรอบ จึงหยุดและวางสัมภาระตลอดจนพระอังคารไว้บนตอมะขาม ขณะพักผ่อนหลับนอน พอรุ่งขึ้นจึงเดินทางต่อไป     เมื่อไปถึงพระธาตุพนมปรากฏว่าได้สร้างเสร็จแล้ว จะเอาอะไรเข้าบรรจุอีกไม่ได้จึงพากันนมัสการพระธาตุพนมแล้วเดินทางกลับมาตามทางเดิม เมื่อมาถึงเนินดินที่เคยพักผ่อน ต้นมะขามที่ตายไปเหลือแต่แก่นกลับผลิใบเขียวชอุ่มเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พระอรหันต์ทั้ง 9 พร้อมด้วยพระยาหลังเขียวจึงตกลงสร้างเจดีย์คร่อมต้นมะขามไว้ แล้วบรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าลงไว้ ชาวบ้านเรียกเจดีย์องค์นี้ว่า “พระธาตุขามแก่น”     เมื่อท้าวเพียเมืองแพนอพยพมาจากบ้านชีหล่น มาตั้งอยู่ที่บ้านบึงบอน จึงได้ถือเอาปูชนียสถานแห่งนี้ เป็นชื่อเมืองขอนแก่น เพราะท่อนไม้แห้ง ๆ เหลือแต่แก่นนั้น ชาวพื้นเมืองจะเรียกว่า “ขอน” ท้าวเพียเมืองแพน ผู้เป็นปฐมเจ้าเมืองจึงได้ตั้งชื่อเมืองว่า “ขอนแก่น”     เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้ว ท้าวเพียเมืองแพน ได้สร้างวัดขึ้น 3 วัด คือ วัดใต้ (ปัจจุบันคือ วัดธาตุพระอารามหลวง) วัดกลาง (ปัจจุบันคือ วัดกลางเมืองเก่า) และวัดเหนือ (ปัจจุบันคือ วัดหนองแวงพระอารามหลวง) เมืองขอนแก่น ตั้งอยู่บ้านดอนพันชาดเป็นเวลา 27 ปีและได้มีการย้ายที่ตั้งหลายครั้ง ที่นานที่สุดคือตั้งที่ตำบลพระลับ 55 ปี จากนั้นจึงย้ายมาที่ศูนย์ราชการปัจจุบัน มีตำแหน่งที่เรียกว่าพระนครศรีบริรักษ์ 7 คน ที่สำคัญ คือ ท้าวอิน ท้าวมุ่ง นางน้อย พระนครศรีบริรักษ์ (ท้าวจาม)     จังหวัดขอนแก่น ได้สร้างอนุสาวรีย์ท้าวเพียเมืองแพน บริเวณสนาม เจ ซี (เดิม) ริมบึงแก่นนครข้างที่ตั้งสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ขอนแก่นเดิม เมื่อปี 2545 ได้มีการปรับปรุงบูรณะอนุสาวรีย์และบริเวณโดยรอบจนสวยงาม และมีการทำพิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์ท้าวเพียเมืองแพน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี และเมื่อปี 2547 ได้มีพิธีบวงสรวงในช่วงการจัดงานเทศกาลไหมฯ ด้วยเนื่องจากเริ่มมีการแสดง แสง-เสียง เล่าตำนานเมืองลือเรื่องนครขอนแก่น ณ เวทีกลาง เป็นครั้งแรก

สถานที่ท่องเที่ยว

มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาล้อมรอบเป็นวงอยู่ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นแอ่งขนาดใหญ่ คล้ายแอ่งกระทะซึ่งเป็นที่ราบและลอนลาด ส่วนพื้นที่โดยรอบแอ่งมีลักษณะเป็นเทือกเขาซึ่งมีมุมเทเข้าหาใจกลางแอ่ง ประกอบด้วยเทือกเขาที่มีความลาดชันปานกลางถึงลาดชันสูง เทือกเขาชั้นนอกสุดมียอดเขาสูงสุด 844 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่ และเทือกเขาชั้นในมียอดเขาสูงสุด 470 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทิศเหนือของพื้นที่เทือกเขาชั้นในนี่เองที่เป็นแหล่งฟอสซิลไดโนเสาร์ ส่วนระดับต่ำสุดของเชิงเขาอยู่ระดับ 210 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง อุทยานแห่งชาติภูเวียงตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราชมีลักษณะเป็นหินชั้น ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนบนแผ่นดินหนากว่า 4,000 เมตร ชั้นของหินตะกอนมักมีสีแดงเกือบทั้งหมดเรียกว่าหินชั้นตะกอนแดง หรือกลุ่มหินโคราช ประกอบด้วย หน่วยหินเขาพระวิหาร หินเสาขัว หินภูพาน และหินโคกกรวด หินดังกล่าวถูกปกคลุมด้วยตะกอนร่วนและดินยุคควอเทอร์นารี่ และยุคปัจจุบัน ซึ่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงนั้นยังมีการสำรวจสายแร่ยูเรเนียมในพื้นที่อีกด้วย อุทยานแห่งชาติภูเวียงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของห้วยทรายขาวซึ่งจะไหลลงลำน้ำพอง ห้วยบั้งทิ้ง ห้วยน้ำไหล ซึ่งจะไหลลงลำน้ำเชิญ ห้วยเรือ ห้วยขุมปูน ห้วยน้ำบอง และห้วยมะนาว ซึ่งจะไหลลงห้วยบอง ทั้งลำน้ำพอง หัวยบอง และลำน้ำเชิญ จะไหลลงอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 ได้มีการค้นพบรอยเท้าและซากกระดูกไดโนเสาร์ และสัตว์โลกดึกดำบรรพ์อายุเกือบ 200 ล้านปี
เรียกตามชื่อของภูเขาเทือกหนึ่งทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติที่มีหน้าผาสูงชันคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มองดูเหมือนกับผ้าม่านผืนใหญ่ อยู่ในท้องที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 350 ตารางกิโลเมตร หรือ 218

,

750 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาหินปูนที่มีความสูงชันสลับซับซ้อนกันเป็นแนวยาวสลับกับที่ราบลุ่มเชิงเขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 200-800 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของห้วยภูฮี ห้วยชมพู ห้วยคะเฮ้า ห้วยจอก ห้วยยาง ห้วยซำแคน ห้วยตากว้าง ห้วยข้าวหลาม ห้วยสงขะยวน และห้วยหม้อแตก ซึ่งลำห้วยเหล่านี้ไหลลงสู่ลำน้ำพองที่ไหลมาจากอุทยานแห่งชาติภูกระดึงและลำน้ำเชิญในจังหวัดขอนแก่น สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายและดินลูกรังอยู่ปะปนกับหินชนิดต่างๆ
สวนสัตว์ขอนแก่น (อุทยานสัตว์ป่าอีสานตอนบน ขอนแก่น-อุดรธานี) อ.เขาสวนกวาง ตั้งอยู่ภูเขาสวนกวาง เนื้อที่กว่า 4,600 ไร่ แบ่งการจัดแสดงสัตว์ออกเป็นส่วนต่างๆ ได้แก่ สัตว์ตระกูลกวาง สัตว์แอฟริกา สัตว์กีบต่างประเทศ สัตว์ประเภทอูฐ จิงโจ้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแคมปิ้งและค่ายเรียนรู้ ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไกล เดินป่าศึกษาธรรมชาติ เรียนรู้ชีวิตสัตว์ป่าและอื่นๆอีกมากมาย
Shops in Khon Kaen

Leave a Reply

Related Post

กระบี่กระบี่

กระบี่ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น หาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการัง ถ้ำ และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 100 เกาะ และเป็นที่ตั้งของเรือนรับรองที่ประทับแหลมหางนาค จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานได้ว่า บริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ดินแดนนี้เดิมคือ บันไทยสมอ มีสภาพเป็นชุมชนเล็ก ๆ ขึ้นอยู่กับอาณาจักรนครศรีธรรมราช เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เจ้าพระยานคร (น้อย) ได้มอบหมายให้ปลัดเมืองไปตั้งเพนียดคล้องช้างที่กระบี่ ทำให้ผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันมากขึ้นจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ ต่อมายกฐานะเป็น แขวงเมืองกาสัย หรือ ปกาสัย ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช ประมาณปี พ.ศ. 2415 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองปกาสัย และพระราชทานนามว่า เมืองกระบี่ เมื่อได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นเมืองแล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำการอยู่ที่ตำบลกระบี่ใหญ่

นครสวรรค์นครสวรรค์

นครสวรรค์  เป็นเมืองโบราณซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีปรากฏชื่อในศิลาจารึกเรียกว่า  เมืองพระบาง  เป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำศึกสงครามมาทุกสมัย  ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวเมืองดังเดิมตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาขาด (เขาฤาษี)  จรดวัดหัวเมือง (วัดนครสวรรค์) ยังมีเชิงเทินดินเป็นแนวปรากฏอยู่  เมืองพระบาง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น เมืองชอนตะวัน  เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และหันหน้าเมืองไปทางแม่น้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกทำให้แสงอาทิตย์ส่องเข้าหน้าเมืองตลอดเวลา แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น เมืองนครสวรรค์ เป็นศุภนิมิตอันดี นครสวรรค์  มีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาแต่เดิมว่า  ปากน้ำโพ  โดยปรากฏเรียกกันมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา  ตามประวัติศาสตร์ในคราวที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  กองทัพเรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ยกไปรับทัพข้าศึกที่ ปากน้ำโพ  แต่ต้านทัพข้าศึกไม่ไหว

ระยองระยอง

ระยอง เริ่มปรากฎชื่อในพงศาวดารเมื่อปี พ.ศ.2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีประวัติดั้งเดิมตามข้อสันนิษฐานว่า น่าจะก่อตั้งเมืองขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1500 ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่พบ คือ ซากศิลาแลงคูค่าย ที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม โดยในสมัยโบราณ ระยองมีชนพื้นเมืองคือชาวซอง ซึ่งเป็นเผ่าที่อาศัยอยู่กระจายโดยทั่วไปในภาคตะวันออก ในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเมืองระยองในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ในเดือนยี่ปี พ.ศ.2309 พระยาวชิรปราการ หรือ พระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ 500 คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า